ริ้นทะเล ภัยเล็กๆจากทะเลที่ทุกคนมองข้าม

0
2231

ขณะที่คุณกำลังเพลิดเพลินริมชายหาด คงเคยได้รับสัมผัสจากพลังงานบางอย่าง ให้ความรู้สึกเหมือนถูกยุงกัด แต่จริงๆแล้วมันคือตัวริ้นทะเลนั่นเอง

ลักษณะทั่วไปของริ้นทะเล

ริ้นทะเลอาจเรียกว่า ริ้นน้ำเค็ม หรือปีง (Biting Midges) มีขนาดเล็กมาก 1.5-3 มิลลิเมตร ใกล้เคียงกับแมลงหวี่ ลำตัวสีดำ หรือสีเทาแก่ ปีกโปร่งแสง มีเส้นปีกเห็นชัดเพียง 3-4 เส้น มีปาก เจาะดูดเหมือนยุง สามารถบินได้ในระยะสั้น ๆ ไม่เกิน 100 เมตร บินสูงไม่ถึง 700 เมตร เมื่อเกาะที่ผิวหนัง จะใช้ส่วนที่ยื่นลงเหมือน ฟันหน้าสองซี่เจาะลงบนผิวหนัง เห็นลักษณะเป็นหัวก้มลีกลำตัว ยกสูงหางชี้ ขณะกัดจะปล่อยน้ำลายที่มีเชื้อสู่ผิวหนังก่อนดูดเลือด เพื่อให้ดูดเลือดได้สะดวก นอกจากนี้ยังปล่อยฮอร์โมนไปในอากาศ เพื่อส่งสัญญานให้กับฝูงที่เหลือ จึงจะสังเกตได้ว่าเมื่อมีริ้นทะเลตัวที่ 1 มากัด จะมีตัวอื่น ๆ ตามมาด้วย และแต่ละตัวจะใช้เวลา 2 – 4 นาทีในการดูดเลือด โดยแต่ละครั้งมีปริมาณเทียบเป็นสองเท่าของน้ำหนักตัว

การแพร่พันธุ์ของริ้นทะเล

ริ้นทะเลจะขยายพันธ์ได้ดีในอุณหภูมิร้อน โดยจะมีการวางไข่ในทุก ๆ 3 สัปดาห์ ครั้งละ 25-200 ฟอง ริ้นทะเลนิยมวางไข่บนโคลน ดินที่เปียก หรือบริเวณซากพืชเน่าเสีย เช่น รูตันไม้ และตอไม้ที่ถูกตัด ส่วนตัวอ่อนอาศัยตามโคลนตม กินแมลง ซากเน่าเปื่อยเป็นอาหาร ตัวเต็มวัยเฉพาะ เพศเมียจะดูดเลือดจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอาหาร เพื่อสกัดเป็นโปรตีนไปบำรุงไข่ และ เพศผู้กินน้ำหวานจากพรรณไม้ดอก เมื่อผสมพันธุ์กับตัวเมียแล้ว ตัวผู้ก็จะตาย

วงจรชีวิตของริ้นทะเล

วงจรชีวิตแบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

  1. ระยะไข่ ใช้เวลา 2-7 วัน ถึงจะกลายเป็นตัวอ่อน
  2. ระยะตัวอ่อนใช้เวลา 2 สัปดาห์ – 1 ปี ตัวอ่อนมีลักษณะคล้ายตัวหนอนสีขาว มีจำนวนปล้องลำตัว 12 ปล้อง ในระยะนี้ต้องการอากาศ น้ำ และซากพืชเน่าเป็นอาหาร
  3. ระยะดักแด้ใช้เวลา 2-3 วัน
  4. ระยะตัวเต็มวัย มีอายุ 1 เดือน โดยวัฏจักรที่สมบูรณ์อาจเกิดขึ้นใน 2- 6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับสภาวะสิ่งแวดล้อม

อาการเมื่อถูกริ้นทะเลกัด

เมื่อถูกริ้นทะเลกัด จะพบอาการแพ้ที่เกิดเฉพาะที่เป็นส่วนใหญ่ โดยอาการจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล เช่น อาการระคายเคืองที่ผิวหนัง รู้สึกปวดแสบ คันบริเวณที่ถูกกัดทันที มีผื่นตุ่มน้ำคั่งอยู่ภายในคล้าย ๆ ตุ่มอีสุกอีใส สำหรับผู้ที่ไม่แพ้ก็จะหายเป็นปกติเหมือนไม่เคยถูกกัด แต่สำหรับคนที่แพ้จะมีอาการคันระยะเวลานานเป็นเดือน อาจมีไข้ร่วมด้วย บางรายอาจมีอาการบวมแดง เกิดแผลเป็นจุดด่างดำ แต่หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยจะทำให้แผลหายช้านานถึง เดือน และบางรายหากมีอาการแพ้รุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะช็อคได้

การป้องกันการถูกริ้นทะเลกัด

วิธีการป้องกันการถูกริ้นทะเลกัด มีดังนี้

  1. สวมใส่สื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวมถุงมือ ถุงเท้า และหมวก เพื่อป้องกันไม่ให้ริ้นทะเล มากัดที่ผิวหนังได้
  2. ควรหลีกเลี่ยงการไปชายทะเล หรือป่าชายเลนในช่วงเวลา 07.00 – 0800 น. และ 1600 – 17.00น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ริ้นทะเลออกหาอาหาร
  3. สำหรับผู้ที่เคยมีอาการแพ้ริ้นทะเล ควรฉีดสเปรย์ที่มีสารในการป้องกันริ้นทะเล หรือป้องกันแมลง เช่น สเปรย์ตะไคร้หอม ก่อนไปชายทะเล หรือป่าชายเลน
  4. สำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ได้ง่าย ควรเตรียมยาแก้แพ้ติดตัวไปด้วย เพื่อป้องกันการเกิดอาการแพ้ที่รุนแรง

การปฐมพยาบาลเมื่อถูกริ้นทะเลกัด

  1. หยุดกิจกรรมที่ทำอยู่ และออกจากบริเวณที่มีริ้นทะเลทันที เนื่องจากขณะริ้นทะเลดูดเลือดจะปล่อยฮอร์โมนไปในอากาศ เพื่อส่งสัญญานให้กับฝูงริ้นทะเลที่เหลือมาดูดเลือดด้วย
  2. อาบน้ำล้างตัวด้วยน้ำสะอาด และสบู่อ่อน ๆ
  3. ประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการปวด เนื่องจากการประคบเย็นช่วยทำให้เส้นเลือดหดตัว มีการดูดซึมน้ำกลับเข้าหลอดเลือดช่วยให้ยุบบวม ลดอาการปวด โดยให้ประคบด้วยน้ำแข็ง น้ำเย็น หรือเจลประคบเย็นแบบสำเร็จรูปทันที ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง โดยประคบนาน 20-30 นาที วันละ 2 – 3 ครั้ง
  4. ใช้ปูนแดงป้ายบาง ๆ บริเวณที่ถูกกัดเพื่อให้ทุเลาจากอาการเจ็บปวดและยุบบวม เนื่องจากปูนแดงมีคุณสมบัติในการช่วยลดอาการแสบร้อน อาการคัน ช่วยให้การอักเสบไม่ลุกลามมากขึ้น
  5. ทาคาลาไมน์โลชั่น บริเวณที่คัน คาลาไมน์โลชั่น หรือยาคาลาไมน์ (Calamine lotion) เป็นยาน้ำแขวนตะกอน (แป้งน้ำสีชมพู ที่ใช้บรรเทาอาการคันตามผิวหนัง โดยมีตัวยาสำคัญ คือ ชิงค์ออกไซด์ หรือซิงค์คาร์บอเนตเป็นส่วนประกอบ และยังมีตัวยาอื่นที่ช่วยเสริมฤทธิ์ในการรักษา เช่น ไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine Cadramine-VHCL) หรือคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) ที่เป็นยาแก้แพ้, การบูร (Camphor) และเมนทอล (Mentho! Crystal) ที่มีสรรพคุณแก้ปวด แก้คันทำให้เย็น
  6. หากมีอาการคันมากควรทาศรีมไฮโดรคอร์ติโขน 1 % เพื่อบรรเทาอาการคันโดย Hycrocortisone (ฮโดรคอร์ติโชน) เป็นยาสเตียรอยด์ที่ใช้รักษาการอักสบตามอวัยวะต่าง ๆเช่นผิวหนังสมารถหาซื้อได้จากร้านขายยาทั่วไป โดยมีข้อระวังดังนี้
    • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์กับเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปีหรือหากกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
    • ทาครีมลงบนตุ่มนูนโดยตรง ไม่ใช่ผิวบริเวณรอบๆ
    • หลีกเลี่ยงการใช้ครีมไฮโดรคอร์ติโซนเกิน 7 วัน ยกเว้น ตามคำสั่งแพทย์
  7. หากมีอาการคันมาก โดยใช้ยาทาข้างต้นแล้วไม่ดีขึ้ น ให้รับประทานยาแก้แพ้ร่วมด้วย เช่น ยาคลอเฟนิรามีน (Chlorpheniramine) อยู่ในกลุ่มยาแก้แพ้ ออกฤทธิ์โดยต้านการทำงานของสารฮีสทามีนซึ่งเป็นสารที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างขึ้น และก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อภูมิแพ้ าคลอเฟนิรามีนจึงใช้บรรเทาอาการแพ้ และอาการคัน นอกจากนี้แพทย์ยังอาจใช้รักษาอาการอื่น ๆ ตามความเหมาะสมด้วย แต่มีผลข้างเคียงอาจทำให้เกิดอาการง่วงซึม หากรับประทานแล้วควรนอนพักผ่อน
  8. การปฏิบัติตัวในผู้ป่วยที่มีอาการคัน เนื่องจากการเกาบริเวณที่คันมากๆ จะทำให้เกิดการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้แผลหายยาก เกิดเป็นรอยแผลเป็น จึงควรปฏิบัติดังนี้
    • ตัดเล็บให้สั้น
    • หลีกเสี่ยงการแกะเกาบริเวณผิวหนัง เนื่องจากจะทำให้เกิดผิวหนังอักเสบหรือการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • ใช้สบู่อ่อนๆ ใช้โลชั่นทาผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง
    • หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าขนสัตว์ ผ้าเนื้อหยาบ หรือใยแก้วซึ่งอาจระคายเคืองและกระตุ้นให้เกิดอาการคันเพิ่มมากขึ้นได้ ควรใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ไม่รัด
  9. หากมีอาการคันรุนแรง หรือเกิดอาการแพ้รุนแรง เช่น ตุ่มคันมีหนอง มีไข้ร่วมด้วย ลมพิษ หายใจติดขัด ควรไปพบแพทย์ทันที

บทความอื่นๆ

ติดต่อสยามคลินิกภูเก็ต

  •