เช็คหน่อย ไทรอยด์ผิดปกติหรือไม่? ผู้ป่วยไทรอยด์ อาจมีภาวะผอมหรืออ้วน บวม คอพอกหรือตาโปน ซึ่งเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ หากมีภาวะการทำงานของไทรอยด์ผิดปกติ ทั้งไฮเปอร์ไทรอยด์ (ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากเกินไป) และไฮโปไทรอยด์ (ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป) โดยจะมีอาการแสดงที่แตกต่างกัน
รายละเอียดการตรวจไทรอยด์
ค่าตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ 5 รายการ มีรายการตรวจดังนี้- ตรวจฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Stimulating Hormone: TSH)
- ตรวจระดับไตรไอโอโดไทโรนีน (Free T3)
- ตรวจระดับไทรอกซีน (Free T4)
- ตรวจระดับไตรไอโอโดไธโรนีน (Triiodothyronine: T3)
- ตรวจระดับไทรอกซีน (Thyroxine: T4)
อาการแบบไหน บ่งบอกไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
-
รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง เหนื่อยง่าย ที่เป็นเช่นนี้เพราะหัวใจถูกกระตุ้นให้ทำงานหนัก จากภาวะไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้ใจสั่น เหงื่อออกง่าย ความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
-
ภาวะนอนไม่หลับ เนื่องจากต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ จึงหลั่งฮอร์โมนมากเกินไป ส่งผลต่อการกระตุ้น ระบบประสาทส่วนกลาง และรบกวนการพักผ่อนของเราได้ จึงทำให้รู้สึกง่วงตลอดเวลา ไม่สดชื่น
-
ท้องเสียง่าย ระบบขับถ่ายไม่เป็นปกติ เพราะต่อมไทรอยด์มีส่วนกระตุ้นการทำงานของระบบทางเดินอาหารด้วย อาจทำให้อุจจาระบ่อยขึ้น ส่วนในภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีอาการท้องผูก
-
ตาโปนกว่าปกติ เนื่องจากเนื้อเยื่อหลังนัยน์ตาขยายขนาดขึ้นจากภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
-
อ้วนง่าย หรือ ผอมง่าย เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติในลักษณะหลั่งฮอร์โมนออกมามาก กระตุ้นระบบเมตาบอลิซึมให้ขยันเกินไป ในภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะพบว่าน้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว ส่วนในไทรอยด์ทำงานต่ำจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่าย เนื่องจากการเผาผลาญที่ต่ำลง
-
เส้นผมและขนผิวหนังร่วง ผิวแห้ง ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะส่งผลต่อระบบเผาผลาญทำงานได้ลดลง อาจทำให้เหงื่อลดน้อยลง และผิวแห้งมากขึ้นได้
รู้ได้อย่างไรว่า “ไทรอยด์ผิดปกติ”
-
ตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนไทรอยด์ ปริมาณของฮอร์โมนไทรอยด์ T3 และ T4 ในเลือด ว่าทำงานผิดปกติหรือไม่ หากไม่ปกติก็แปลว่ามีอาการของโรคไทรอยด์
-
ตรวจวัดการทำงานของต่อมใต้สมอง (Thyroid-Stimulating Hormone: TSH) เป็นการตรวจวัดปริมาณฮอร์โมนต่อมใต้สมอง ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์
-
การตรวจวัดระดับปริมาณแอนติบอดีของต่อมไทรอยด์
เมื่อรู้ตัวแล้วว่าไทรอยด์ผิดปกติ ควรปฎิบัติอย่างไร
-
รักษาด้วยยา ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการรักษานานประมาณ 1 – 2 ปี โดยในระหว่างที่ทำการรักษานั้นผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัด เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม เพราะการที่ไม่ปฎิบัติตัวตามที่แพทย์แนะนำ ไม่รับประทานยาอย่างต่อเนื่องจะทำให้อาการของต่อมไทรอยด์มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น และยากต่อการควบคุม
-
รักษาด้วยการกลืนเร่ไอโอดีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะพิจารณาเลือกในผู้ป่วยที่มีอายุมาก และมีอาการค่อนข้างรุนแรง หรือกลับมาเป็นซ้ำ หลังจากที่รักษาด้วยการให้ยามาแล้ว
-
รักษาด้วยผ่าตัด วิธีการนี้แพทย์จะพิจารณาเลือกเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากๆ และต่อมไทรอยด์มีขนาดโตมากขึ้น แพ้กลุ่มยากินที่ใช้ในการรักษา หรือเกิดผลข้างเคียงต่อระบบเม็ดเลือด และหลอดเลือด
ต่อมไทรอยด์สำคัญอย่างไร
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีน้ำหนักประมาณ 15-20 กรัม อยู่ที่ลำคอด้านหน้าข้างหลอดลม ต่ำกว่าลูกกระเดือกเล็กน้อย ข้างละ 1 ต่อม มีสีแดงเข้มเป็นพู มีรูปร่างเหมือนเกือกม้าหรือปีกผีเสื้อ ต่อมไทรอยด์มักมีขนาดโตกว่านิ้วหัวแม่มือของเจ้าของต่อมเล็กน้อย โดยมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนไทรอกซีน (Thyroxine) ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดขบวนการเมตาบอลิซึม (Matabolism) คือ เปลี่ยนอาหารในร่างกายให้เป็นพลังงาน เพื่อช่วยป้องกันภาวะปัญญาอ่อนในเด็กและภาวะเตี้ยแคระ (Cretinism) ส่วนในผู้ใหญ่หากขาดจะเสี่ยงเป็นโรคคอพอก อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง อัตราการเผาผลาญอาหารต่ำ ทำให้อ้วนและเฉื่อยชา แต่หากมีมากเกินไปจะมีภาวะตื่นเต้นตกใจง่าย หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ และรูปร่างผอม
ข้อมูลความรู้ก่อนตรวจ
- ระยะเวลารับบริการประมาณ 30 นาที ขึ้นอยู่กับจำนวนผู้รับบริการ
- ระยะเวลารอผลตรวจประมาณ 1-3 วัน จะส่งผลตรวจที่ออกก่อนให้ตามอีเมลที่แจ้งไว้เท่านั้น
- ชาวต่างชาติสามารถรับบริการได้ โดยต้องเตรียมพาสปอร์ตมาด้วย
- ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากอยู่ในระหว่างรับประทานยาหรืออาหารเสริม เนื่องจากยาและอาหารเสริมบางชนิดอาจส่งผลต่อระดับการทำงานของต่อมไทรอยด์
ผู้ที่เหมาะกับบริการนี้
- ผู้ที่มีประวัติเคยตรวจเลือดแล้วพบความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์มาก่อน
- ผู้ที่มีประวัติได้รับการรักษาโรคไทรอยด์มาก่อน เช่น การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การกลืนแร่ไอโอดีน เป็นต้น
- ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไทรอยด์
- ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1
- ผู้ที่มีภาวะมีบุตรยาก
- ผู้ที่มีอาการคอพอกหรือคลำเจอก้อนที่คอ
- ผู้ที่น้ำหนักลดลงหรือเพิ่มขึ้น 3 กิโลกรัมโดยไม่มีสาเหตุ ภายในช่วงเวลา 1 เดือน
ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการตรวจไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณหน้ากล่องเสียง ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งฮอร์โมนไทรอยด์เข้าสู่กระแสเลือด เพื่อส่งไปยังอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง ฮอร์โมนต่อมไทรอยด์⠀มีความสำคัญในการกระตุ้นการทำงานของอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะหัวใจและสมอง รวมถึงควบคุมระบบการเผาผลาญของเซลล์ ระดับไขมันในเลือด ระบบย่อยอาหาร อุณหภูมิร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ และความแข็งแรงของผิวหนัง ผม เล็บ หากต่อมไทรอยด์มีความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ การตรวจคัดกรองต่อมไทรอยด์ คืออะไร? การตรวจคัดกรองเป็นการประเมินการทำงานและความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นของต่อมไทรอยด์ โดยการตรวจเลือดเพื่อดูระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งประกอบไปด้วยฮอร์โมน 3 ชนิด ที่ทำหน้าที่ควบคุมซึ่งกันและกันเพื่อให้ฮอร์โมนอยู่ในระดับปกติ ได้แก่- ฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ (Thyroid Stimulating Hormone: TSH)
- ฮอร์โมนไตรไอโอโดไทโรนีน (Triiodothyronine: Free T3)
- ฮอร์โมนไทรอกซีน (Thyroxine: Free T4)
- โรคต่อมไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism) เป็นภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์เป็นพิษ ร่างกายเผาผลาญมากผิดปกติ ทำให้น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ใจสั่น เหงื่อออกง่าย ร้อนง่าย และมีอารมณ์ฉุนเฉียว
- โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism) ภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์น้อยกว่าปกติ มักเกิดหลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์หรือรักษาด้วยการกลืนแร่ไอโอดีนมาก่อน ส่งผลให้รู้สึกเฉื่อยชา หายใจไม่เต็มที่ คิดช้า พูดช้า หนาวง่าย และน้ำหนักเพิ่มขึ้น
- โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) แบ่งเป็น 2 ชนิด คือชนิดอักเสบกึ่งเฉียบพลันและชนิดอักเสบเรื้อรัง โดยชนิดกึ่งเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือภาวะต่อมไทรอยด์โต ทำให้รู้สึกเจ็บเมื่อคลำที่ก้อน ส่วนชนิดเรื้อรัง มีสาเหตุมาจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน มักมีอาการคอโตแต่กดแล้วไม่รู้สึกเจ็บ
- โรคต่อมไทรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ (Thyroid nodule) คือการที่ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น แต่การสร้างฮอร์โมนยังปกติ มีทั้งชนิดต่อมไทรอยด์โตก้อนเดียว และต่อมไทรอยด์โตหลายก้อน โดยทั้งสองอาจส่งผลให้มีโอกาสเป็นมะเร็งได้
- โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (Thyroid cancer) มีทั้งชนิดที่มีความรุนแรงน้อย สามารถรักษาให้หายขาดได้ และชนิดรุนแรงมากที่ทำให้เสียชีวิตได้ภายในระยะเวลาสั้น
- โดยทั่วไปการตรวจฮอร์โมนไทรอยด์อาจตรวจฮอร์โมนทั้ง 3 ชนิดพร้อมกัน หรือตรวจเฉพาะ TSH เบื้องต้นก่อน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ และอาการของผู้รับบริการ
- การตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ ควรตรวจเมื่อมีอาการของภาวะฮอร์โมนไทรอยด์สูง หรือต่ำ จากสภาวะบางอย่างที่ทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์เปลี่ยนไป
- ยังไม่มีหลักฐานสนับสนุนว่าการตรวจคัดกรองต่อมไทรอยด์ในผู้ที่ไม่มีอาการผิดปกติหรือความเสี่ยงใดๆ จะ
- มีประโยชน์กว่าการไม่ตรวจ
ความอื่นๆ
- ทำความรู้จัก เซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์ (MSCs) ตัวช่วยในการฟื้นฟูคืนความอ่อนเยาว์
- ผิวสวยด้วยวิตามินดี
- ฉีดฟิลเลอร์หน้าตอบ บอกลาหน้าแก่
- ฉีดวิตามินผิวใส (Vitamin Drip) ผิวใส ผิวขาว ผิวเนียนสวย แบบทันใจ
ติดต่อสยามคลินิกภูเก็ต
- ติดต่อเราได้ที่ สยามคลินิก ชั้น 1 ห้าง บิ๊กซี ภูเก็ต
- แผนที่ : https://g.page/SiamClinicPhuket
- โทรศัพท์ : 088-488-6718 และ 093-692-5999
- Email : [email protected]
- Facebook inbox : https://m.me/siamclinicthailand
- Instagram : https://www.instagram.com/siamclinic
- Line@ : @siamclinic หรือแอด https://lin.ee/uny1D7n
- Youtube : Siam Clinic สยามคลินิก คลินิกความงามภูเก็ต – YouTube