Body Recomposition – ยาฉีดควบคุมความหิว ภายใต้การดูเเลของเเพทย์ Magic pen

ยาฉีดควบคุมความหิว ปัจจุบันมีวิวัฒนาการทางการแพทย์หลากหลาย ที่ช่วยให้การลดน้ำหนักเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค ไม่ว่าจะเป็นการกินยา การฉีดยา การใส่บอลลูนลดน้ำหนัก หรือการผ่าตัดรัดกระเพาะ ซึ่งแต่ละวิธีควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด

สำหรับวิธีที่ไม่ต้องผ่าตัดและได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน ได้แก่ การใส่บอลลูนลดน้ำหนัก และการใช้ยาฉีดควบคุมความหิว ซึ่งผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา และ US FDA

สยามคลินิกภูเก็ตให้บริการให้คำปรึกษาการใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

สารบัญ hide


ยาฉีดควบคุมความหิว เป็นอย่างไร

  • ยาฉีดควบคุมความหิวเป็นยาฉีดในชั้นไขมันในรูปแบบปากกา ที่ใช้ในเข้าบริเวณชั้นใต้ผิวหนัง โดยจะมีการปรับขนาดตามที่แพทย์กำหนดไว้ โดยเป้าหมายคือการลดน้ำหนัก 5-10% ของน้ำหนักเดิม ภายในระยะเวลา 12 สัปดาห์หรือ 3 เดือน

ทำไมยาฉีดควบคุมความหิว ถึงทำให้น้ำหนักลดได้

เพิ่มความอิ่ม ลดความหิว
  • Liraglutide มีการออกฤทธิ์ที่คล้ายกับฮอร์โมนที่มีอยู่ในร่างกายชื่อว่า glucagon-like peptide-1 (GLP-1) ซึ่งฮอร์โมน GLP-1 หลั่งออกมาจากสำไส้หลังการรับประทานอาหาร โดยจะออกฤทธิ์จับกับตัวรับในสมองที่ทำหน้าที่ควบคุมความอยากอาหาร ทำให้เกิดความรู้สึกอิ่ม จึงทำให้หิวน้อยลง จะช่วยให้กินน้อยลง และทำให้น้ำหนักลดลงได้
  • Liraglutide หรือ GLP-1 เป็นกลุ่มฮอร์โมนในทางเดินอาหารที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เพราะฉะนั้นผลที่ได้จากการใช้ยานี้จะ ช่วยลดการผลิตน้ำตาลที่ตับ เพิ่มความไวของอินซูลินที่ตับอ่อนและที่กล้ามเนื้อ รวมถึงลดการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร จึงทำให้อาหารอยู่ท้องนานขึ้น
  • Liraglutide ไม่ใช่ยากระตุ้นใดๆ

ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ของการใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

  • ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทางโภชนบำบัด ไม่ควรหาซื้อยามาฉีดเองเพราะอาจไม่ได้ประสิทธิภาพในการลดน้ำหนัก
  • มีดัชนีมวลกาย (Body mass index, BMI) เกิน 30 กิโลกรัม/ตารางเมตร
  • มีดัชนีมวลกาย (Body mass index, BMI) เกิน 27 กิโลกรัม/ตารางเมตร ร่วมกับโรคร่วมเช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวานชนิดที่ 2 ไขมันในเลือดสูง
น้ำหนักเท่าไหร่ ถึงเรียก “อ้วน?” ในทางการแพทย์แล้วมีหน่วยวัดเพื่อหาค่าดัชนีมวลกาย
Body mass Index : BMI เป็นมาตรวัดที่ใช้ประเมินภาวะอ้วนผอม โดยใช้วิธีคิด > น้ำหนักตัว[Kg] หาร (ส่วนสูง[m] ยกกำลังสอง

เกณฑ์วัด

  • น้ำหนัก ต่ำกว่าเกณฑ์ = 18.5
  • น้ำหนัก ปกติ = 18.6-24.9
  • น้ำหนัก อ้วน หรือ เริ่มมีภาวะ น้ำหนักเกิน 25-29.9
  • น้ำหนัก เกิน 30 หรือมากกว่า = มีภาวะอ้วนมาก

วิธีการใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

  • ยาฉีดควบคุมความหิว เป็นยาฉีดวันละครั้ง เวลาใดก็ได้โดยไม่ขึ้นกับมื้ออาหาร โดยฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ควรฉีดยา เวลาเดิมทุกวัน
  • บริเวณที่เหมาะสมในการฉีดยาที่ดีที่สุดคือหน้าท้องโดยฉีดห่างจากรอบสะดืออย่างน้อย 2 นิ้วมือ โดยบริเวณอื่นที่ฉีดได้คือ ต้นขา หรือ ท่อนแขนด้านบน
  • ควรเปลี่ยนตำแหน่งที่ฉีดโดยเว้นระยะประมาณ 2 นิ้วมือในบริเวณเดิมและกลับมาฉีดตำแหน่งเดิมได้เมื่อพ้น 4-8 สัปดาห์ไปแล้ว
  • เป็นยาที่สามารถใช้ฉีดยาได้ด้วยตนเองที่บ้านได้
  • แพทย์จะปรับ เพิ่ม/ลด ขนาดยาให้ตามผลลัพธ์และผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น หรือมีการพิจารณาหยุดการใช้ยาถ้าหากผลข้างเคียงเกิดขึ้นมากกว่าประโยชน์ที่ได้รับ
ตำแหน่งที่ฉีดยาฉีดควบคุมความหิว

ตัวอย่างตารางการใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

ยาฉีดควบคุมความหิวออกแบบตารางการใช้ยาเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการลดน้ำหนักมากที่สุดในขณะที่เกิดผลข้างเคียงต่อระบบทางเดินอาหารน้อยที่สุด ตารางปกติจะใช้ระยะเวลาประมาณ 4 เดือน โดยจะเริ่มต้นที่ขนาดยา 0.6 มิลลิกรัม หลังจากนั้นจะปรับยาทุกอาทิตย์ตามคำแนะนำของแพทย์ โดยจะปรับไม่สูงเกินไปกว่า 3.0 มิลลิกรัม


ผลข้างเคียงของยาฉีดควบคุมความหิว

  • คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูก ปวดศีรษะ น้ำตาลต่ำ (ในกรณีใช้ร่วมกับยาเบาหวานบางชนิด) พบได้ประมาณ 10% ของผู้ใช้ทั้งหมด
  • ไม่อยากอาหาร เวียนหัว อ่อนเพลีย ปวดท้อง ท้องอืด กรดไหลย้อน เวียนหัว พบได้ประมาณ 1-10% ของผู้ใช้ทั้งหมด

ความปลอดภัยของการใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

  • ยาฉีดควบคุมความหิวได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาทั้งในประเทศไทยและสหรัฐอเมริกา ว่ามีความปลอดภัย สามารถใช้ในการควบคุมน้ำหนักได้ ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • ไม่อนุญาตให้มีการใช้งานนอกเหนือจากคำสั่งแพทย์ในทุกกรณี

ข้อห้ามในการใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

  • ผู้ที่อายุน้อยกว่า 18 ปี และมากกว่า 75 ปี
  • หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรือวางแผนตั้งครรภ์
  • มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งไทรอยด์ (Medullary Thyroid Cancer) หรือ Multiple Endocrine Neoplasia syndrome Type 2 (MEN 2)
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัวทุกชนิด ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของไต ตับ ลำไส้และกระเพาะอาหาร ต้องได้รับการปรึกษาโดยแพทย์ในทุกกรณี
  • ผู้ที่มีการใช้ยาเบาหวาน หรือยา Glipizide และรวมไปถึงยาที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของหลอดเลือด

การเก็บรักษายาฉีดควบคุมความหิว

  • หากยังไม่เปิดใช้ให้เก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ (2-8 องศาเซลเซียส) ห้ามเก็บบริเวณช่องแช่แข็ง ยาที่ยังไม่เปิดใช้มีอายุเท่ากับวันหมดอายุที่ระบุบนปากกา
  • หลังจากเปิดใช้ครั้งแรกให้เก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียสหรือเก็บในตู้เย็นอุณหภูมิ (2 องศาเซลเซียส ถึง 8 องศาเซลเซียส) ห้ามแช่แข็งและสวมปลอกปากกาไว้เพื่อป้องกันแสง ยาที่เปิดใช้แล้วมีอายุหนึ่งเดือน

งานวิจัยยาฉีดควบคุมความหิว

Liraglutide ได้ถูกทดลองใช้ในงานวิจัยกับคนไข้จำนวน 3,713 คน ซึ่งพบว่าจำนวน 85% ของกลุ่มที่อยู่ในงานวิจัยสามารถลดน้ำหนักได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้

3 ใน 5 คน สามารถลดน้ำหนักได้โดยเฉลี่ย 5% หรือประมาณ 5.4 กิโลกรัม (เมื่อเทียบกับตอนก่อนเข้าร่วมงานวิจัย)

1 ใน 3 คน สามารถลดน้ำหนักได้เท่ากับหรือมากกว่า 5% หรือประมาณ 10.5 กิโลกรัม (เมื่อเทียบกับตอนก่อนเข้าร่วมงานวิจัย)

ผู้เข้าร่วมทดลองจำนวนประมาณ 6% ของทั้งหมด สามารถลดน้ำหนักได้มากถึง 20% (เมื่อเทียบกับตอนก่อนเข้าร่วมงานวิจัย)

ที่มา https://www.saxenda.com/about-saxenda/benefits-of-saxenda.html


ยาฉีดควบคุมความหิวทำให้เกิดโยโย่เอฟเฟคหรือไม่ (Yoyo effect) หลังจากใช้ไปนานๆ

ในงานวิจัยที่มีการทดลองการใช้ Saxenda® (Liraglutide) เป็นเวลา 3 ปี พบว่า

  • ผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวน 56% สามารถลดน้ำหนักได้ตามเป้าภายใน 1 ปีแรก
  • พบว่าผู้เข้าร่วมวิจัยจำนวนดังกล่าวยังสามารถคงน้ำหนักตัวเดิมไว้ได้ในระยะ 3 ปี เมื่อยังคงใช้ ยาฉีดควบคุมความหิวเป็นตัวเสริมในการควบคุมปริมาณอาหารพร้อมกับเพิ่มการออกกำลังกายในชีวิตประจำวัน โดยเป็นการเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ใช้ยา ต่อ
  • โดยสรุปคือ หลังจากใช้ยาครบตามจำนวนที่แพทย์สั่ง และได้น้ำหนักตามเป้าแล้ว การรักษาพฤติกรรมไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การมีวินัยในตนเอง จะช่วยป้องกันการเกิดโยโย่เอฟเฟคได้

ปรึกษาสยามคลินิก เรื่องยาฉีดควบคุมความหิว

หากต้องการใช้ยาฉีดควบคุมความหิว ควรเข้ามารับคำปรึกษาจากแพทย์เพื่อจะได้สอบถามประวัติและตรวจร่างกายก่อนเริ่มฉีด ทั้งนี้ ระหว่างการรักษา จะมีการติดตามอาการและประเมินผลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คนไข้ลดน้ำหนักได้อย่างปลอดภัยและมีสุขภาพที่ดี

นอกจากนี้สยามคลินิก ยังให้บริการการกระชับสัดส่วนด้วยวิธีอื่น ดังนี้

สามารถดูรายละเอียด แต่ละตัวช่วยได้ทางเพจคลินิก หรือ เพิ่มเติมได้ทางเว็ปไซต์ หรือนัดหมายเพื่อปรึกษาแพทย์ได้ค่ะ

รูปภาพ รีวิวเคสยาฉีดควบคุมความหิว ภายใต้การดูเเลของเเพทย์

ทางสยาม คลินิก ภูเก็ต ได้รวบรวมผลงานคนไข้จริงที่เข้ามารับบริการที่คลินิกเพื่อเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้ที่สนใจจะมารับบริการได้ตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้น เพราะเราเชื่อว่าหลังทำหัตถการต้องเห็นผลชัดเจน ท่านเลื่อนดูรูปภาพรีวิวเคสทรีตเม้นต์ใบหน้าได้ด้านล่างได้เลยค่ะ


ติดต่อสยามคลินิกภูเก็ต