ตรวจคัดกรองโรคมะเร็งให้รู้ก่อน..ช่วยเพิ่มโอกาสรอด
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง (Cancer Screening or Cancer Early Detection) เป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ทางการแพทย์นิยมใช้ เนื่องจากเป็นการตรวจเพื่อค้นหาโรคมะเร็งตั้งแต่ก่อนเป็นโรคจนถึงระยะเริ่มต้น แม้ว่าผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการที่แสดงออกมา ส่งผลให้มีอัตราการอยู่รอดจากโรคมะเร็งภายหลังการรักษาเพิ่มขึ้น หรือสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งได้มากขึ้นรายการตรวจ
- AFP (Alpha-fetoprotein) ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับ
- CEA (Carcinoembrionic Antigen) ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งลำไส้
- CA 19-9 Carbohydrate Antigen ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน
- CA 125 (Ovarian Cancer) ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่
- CA 15-3 Breast Cancer ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งเต้านม
- PSA (Prostate-Specific Antigen) , Free PSA ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งต่อมลูกหมาก
- NSE (Neuron-Specific Enolase) ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งปอด
- Telomere Length การตรวจวัดความยาวของเทโลเมียร์
- NK cell activity
ความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็ง
แม้โรคมะเร็งจะเป็นโรคที่น่ากลัวในความคิดของคนส่วนใหญ่ แต่มีโรคมะเร็งหลายชนิดที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ที่สำคัญคือมีจำนวนผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งจำนวนมาก ซึ่งในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ทวีปยุโรปและอเมริกา มีผลสำรวจว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งลดลง เนื่องจากวิทยาการด้านการรักษาโรคมะเร็งที่ทันสมัย บวกกับความก้าวหน้าของเครื่องมือคัดกรองโรคมะเร็งต่าง ๆ รวมทั้งการตรวจในระดับยีน ทำให้สามารถตรวจพบการก่อตัวที่ผิดปกติของเซลล์เร็วขึ้นก่อนเซลล์จะผิดรูปกลายเป็นเซลล์มะเร็ง ส่งผลให้โอกาสในการรักษามีมากขึ้นตามไปด้วย
“โรคมะเร็ง” โรคนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
โรคมะเร็ง (Cancer) เกิดขึ้นจากการกลายพันธุ์ของยีน หรือสารพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ ทำให้เซลล์มีลักษณะผิดปกติแตกต่างจากเซลล์ทั่วไป ทำให้ร่างกายควบคุมไม่ได้ทั้งยังสามารถมีชีวิตอยู่นานกว่าเซลล์ปกติทั่วไป โดยเซลล์เหล่านี้แพร่กระจายไปทั่วร่างกาย ส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ…และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตในที่สุด แม้ว่าการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจะยังไม่สามารถคัดกรองโรคมะเร็งได้ทุกชนิด หลายๆ โรคอาจยังไม่สามารถตรวจเจอได้ ซึ่งโรคมะเร็งในปัจจุบันที่สามารถทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งได้ เช่น โรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคมะเร็งปากมดลูก เป็นต้น โดยการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งแต่ละชนิดจะมีความถี่ในการตรวจที่แตกต่างกัน ดังนี้-
- การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer Screening)
-
- การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก (Cervical Cancer Screening)
-
- การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colorectal Cancer Screening)
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งมีผลข้างเคียงหรือไม่ ?
ผลกระทบที่เกิดจากการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งจะขึ้นอยู่กับวิธีในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เช่น-
- การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมหรือแมมโมแกรม (Mammogram) ผู้ป่วยอาจจะมีอาการเจ็บเล็กน้อยในขณะกำลังตรวจคัดกรอง ซึ่งเป็นผลกระทบจากการบีบของเครื่องเอกซเรย์
- การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เนื่องจากเป็นการตรวจด้วยวิธีการส่องกล้อง จึงต้องมีการเตรียมตัวคนไข้ก่อนการตรวจ คือ ต้องมีการทำความสะอาดลำไส้โดยการทานยาระบาย เพื่อนำเอาอุจจาระในลำไส้ออกมาให้หมด ซึ่งอาจจะทำให้คนไข้เกิดอาการอ่อนเพลียได้
รู้หรือไม่? ความเสี่ยงการเกิดโรค…ระหว่างเพศชายและเพศหญิงแตกต่างกัน
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในเพศชายและเพศหญิงจะมีความเสี่ยงที่แตกต่างกัน เช่น โรคมะเร็งเต้านม เพศชายก็มีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมได้ แต่เพศหญิงมีความเสี่ยงเยอะกว่า ในส่วนของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็มีโอกาสเป็นได้ทั้ง 2 เพศ โดยส่วนใหญ่แพทย์มักจะแนะนำผู้ป่วยที่อายุ ตั้งแต่ 50 ปี ขึ้นไป จัดอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ควรเข้ามาพบแพทย์เพื่อทำการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง
การตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง คือ มาตรการในการค้นหาโรคมะเร็งระยะแรกเริ่มในผู้ที่ยังไม่มีอาการของโรค โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและความเจ็บป่วยจากโรคมะเร็ง การตรวจคัดกรองสำหรับโรคมะเร็งต่าง ๆ (Screening for Specific Cancer) เป็นวิธีที่ได้รับการยอมรับและมีประโยชน์อย่างมากสำหรับการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งในกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงหรือกังวลว่าจะเป็นมะเร็งนั้นนับว่ามีความสำคัญมากเป็นอันดับต้น ๆ ที่จะช่วยป้องกันการเกิดโรค ในขณะเดียวกันหากมีการค้นพบมะเร็งตั้งแต่ระยะแรกเริ่มจะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยหายขาดจากการเป็นมะเร็งในอัตราที่สูงและทำให้คนที่เป็นมะเร็งมีชีวิตยืนยาวอย่างมีคุณภาพได้เช่นกัน องค์กรอนามัยโลกแนะนำให้มีการตรวจคัดกรองมะเร็งในระยะเริ่มแรกถึงแม้ว่าจะไม่มีอาการใด ๆ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถตรวจพบความผิดปกติได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้การรักษาเป็นไปได้อย่างถูกต้อง มีประสิทธิภาพ และทันท่วงทีสัญญาณอันตราย 7 ประการ
สัญญาณอันตราย 7 ประการที่ควรรีบมาพบแพทย์ ได้แก่- มีเลือดหรือสิ่งผิดปกติออกจากร่างกาย เช่น มีตกขาวมากเกินไป
- มีก้อนหรือตุ่มเกิดขึ้นที่ใดที่หนึ่งของร่างกายและก้อนนั้นโตเร็วผิดปกติ
- มีแผลเรื้อรัง
- มีการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิม
- เสียงแหบ ไอเรื้อรัง
- กลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
- มีการเปลี่ยนแปลงของหูด ไฝ ปาน เช่น โตผิดปกติ
มะเร็งปากมดลูก
- มีหลักฐานทางคลินิกจากองค์กรอนามัยโลกแนะนำให้ผู้หญิงช่วงอายุระหว่าง 21 – 65 ปี ควรตรวจหาโอกาสการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ทุก ๆ 3 – 5 ปี เพื่อลดความรุนแรงและอัตราการเสียชีวิต (Ref : IARC, 2005 and Sankaranarayanan et al., 2007)
- American Cancer Society แนะนำให้ผู้หญิงที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกควรต้องได้รับการตรวจหาโอกาสการเกิดโรคเช่นเดียวกับหญิงที่ไม่เคยได้รับวัคซีน (Ref: American Cancer Society 2015)
มะเร็งต่อมลูกหมาก
- American Cancer Society แนะนำให้ตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากด้วยการตรวจหาสาร PSA ในเลือด หรือ / และการใช้นิ้วคลำทางทวาร โดยในผู้ชายอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติในครอบครัว (พ่อหรือพี่ชาย / น้องชาย) เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากก่อนอายุ 65 ปี
มะเร็งปอด
- American Cancer Society แนะนำให้ผู้ที่สูบบุหรี่หนัก (มากกว่า 30 pack – year*) และยังสูบอยู่ หรือ ผู้ที่เคยสูบบุหรี่แต่เลิกไปแล้วภายใน 15 ปีที่ผ่านมา อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไปต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปอด โดยเฉพาะการทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำที่บริเวณทรวงอกทุกปี (*จำนวน pack – year = จำนวนซองบุหรี่ที่สูบต่อวัน X จำนวนปีที่สูบ)
มะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งลำไส้ตรง
ตามคำแนะนำของ The American Cancer Society และ National Cancer Institute ผู้หญิงและผู้ชายที่อายุ 50 ปีขึ้นไป ควรเริ่มมีการตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงด้วยการส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร (แบบ Sigmoidoscopy หรือ Colonoscopy) อย่างน้อยทุก ๆ 5 – 10 ปีมะเร็งตับ
มีหลักฐานทางการแพทย์ในการแพร่ระบาดพบว่า การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเรื้อรังเป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งตับ ดังนั้นการตรวจหาภูมิคุ้มกันไวรัสตับอักเสบซี (Anti – HCV) จึงสามารถใช้ประเมินหาความเสี่ยงและเฝ้าระวังการเป็นมะเร็งตับได้มะเร็งรังไข่
ในปัจจุบันการตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง CA 12-5 และ HE4 ในกระแสเลือดได้รับการยอมรับทางการแพทย์เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยระยะเบื้องต้นของโรคมะเร็งรังไข่ โดยเมื่อเทียบกับผู้หญิงปกติพบว่า ประมาณ 80 – 85% ของผู้หญิงที่เป็นมะเร็งรังไข่มีระดับ CA 12-5 และ HE4 สูงขึ้น หากพูดถึงโรคมะเร็ง หลาย ๆ คนอาจเกิดความกังวลใจไม่ใช่น้อย เนื่องจากมะเร็งเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย และมักลุกลามรวดเร็ว..ทั้งที่ผู้ป่วยยังไม่รู้ตัว ปัจจุบันทางการแพทย์ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง ทำให้สามารถค้นหาโรคมะเร็งระยะเริ่มต้นได้ ช่วยป้องกันเซลล์มะเร็งลุกลาม..เพิ่มโอกาสการรักษาได้มากขึ้นการเตรียมความพร้อมก่อนตรวจคัดกรอง
มะเร็งปากมดลูก-
- ตรวจหนึ่งสัปดาห์หลังหมดประจำเดือน
- ก่อนได้รับการตรวจผู้ป่วยควรงดการมีเพศสัมพันธ์ เหน็บยาในช่องคลอด หรือสวนล้างช่องคลอด 24-48 ชั่วโมง
-
- สามารถรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มได้ตามปกติ
- ไม่ควรทาโลชั่น แป้งฝุ่น รวมไปถึงสเปรย์ต่างๆ ที่บริเวณเต้านมและรักแร้ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เกิดจุดบนภาพ ทำให้การวินิจฉัยคลาดเคลื่อนได้
- หากเคยตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) มาก่อน ควรนำผลการตรวจเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่าง
-
- ควรงดอาหารหรือควบคุมอาหารก่อนเข้ารับการตรวจ
- ทานอาหารที่มีกากใยน้อยลงและทานยาระบาย เพื่อขับสิ่งต่างๆ ในลำไส้ใหญ่ออกมา
ความอื่นๆ
- ทำความรู้จัก เซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์ (MSCs) ตัวช่วยในการฟื้นฟูคืนความอ่อนเยาว์
- ผิวสวยด้วยวิตามินดี
- ฉีดฟิลเลอร์หน้าตอบ บอกลาหน้าแก่
- ฉีดวิตามินผิวใส (Vitamin Drip) ผิวใส ผิวขาว ผิวเนียนสวย แบบทันใจ
ติดต่อสยามคลินิกภูเก็ต
- ติดต่อเราได้ที่ สยามคลินิก ชั้น 1 ห้าง บิ๊กซี ภูเก็ต
- แผนที่ : https://g.page/SiamClinicPhuket
- โทรศัพท์ : 088-488-6718 และ 093-692-5999
- Email : [email protected]
- Facebook inbox : https://m.me/siamclinicthailand
- Instagram : https://www.instagram.com/siamclinic
- Line@ : @siamclinic หรือแอด https://lin.ee/uny1D7n
- Youtube : Siam Clinic สยามคลินิก คลินิกความงามภูเก็ต – YouTube