การตรวจระดับโลหะหนัก โลหะที่เป็นพิษในร่างกาย (Toxic Heavy Metals) สามารถตรวจได้หลายวิธี เช่น ตรวจเลือด ปัสสาวะ หรือเหงื่อ โดยวิธีตรวจที่พบได้ทั่วไปคือการตรวจเลือด เพราะทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน และวิเคราะห์ผลได้อย่างแม่นยำ
ค่าตรวจโลหะหนักในร่างกาย 8 รายการ
- ตะกั่ว (Lead)
- ปรอท (Mercury)
- นิกเกิล (Nickel)
- โครเมียม (Chromium)
- แคดเมียม (Cadmium)
- แมงกานีส (Manganese)
- โคบอลต์ (Cobalt)
- สารหนู (Arsenic)
อาการของผู้ที่สงสัยว่ามีภาวะเป็นพิษจากโลหะหนัก
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงที่อาจจะมีสารพิษโลหะหนักตกค้างในร่างกาย
ร่างกายอาจได้รับโลหะหนัก โลหะที่เป็นพิษ จากทางใดบ้าง?
- น้ำดื่ม อาหารทะเล ผัก ผลไม้
- อากาศ เช่น มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม มลพิษจากการคมนาคมบนท้องถนน
ตัวอย่างสารโลหะหนักที่พบได้ในชีวิตประจำวัน
- อะลูมิเนียม พบได้ในดิน ฝุ่นละอองในอากาศ น้ำดื่ม อาหาร ภาชนะบรรจุต่างๆ ยา สารระงับกลิ่นตัว
- สารหนู⠀เป็นสารที่ใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรและการย้อมผ้า
- ปรอท พบมากในแหล่งที่มีการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิง โลหะ โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ หรือสารอุดฟัน
- ตะกั่ว⠀พบได้ในแหล่งอุตสาหกรรมทั่วไป สามารถปนเปื้อนอยู่ในดิน น้ำ และอากาศได้
- แคดเมียม⠀พบได้ในแหล่งทำเหมืองสังกะสีและตะกั่ว แหล่งอุตสาหกรรมทั่วไป ยาสูบ บุหรี่ พลาสติก และยาง
การตรวจโลหะที่เป็นพิษ มีประโยชน์กับใคร?
- ผู้ที่พบความผิดปกติทางร่างกาย เช่น ลดน้ำหนักไม่ลง ฮอร์โมนผิดปกติ เหนื่อยง่าย แขนขาชา หรือโลหิตจาง ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเชื่อมโยงถึงสาเหตุของสารพิษโลหะหนักเกินในร่างกาย
- ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ หรือใกล้แหล่งโรงงาน
- คนที่ทำงานหรืออยู่ในแหล่งสัมผัสสาร เช่น โรงงานแบตเตอรี่ ช่างทอง ช่างเชื่อม
- ผู้ที่มีกิจกรรมกลางแจ้งเป็นประจำ
- ผู้ที่รับประทานอาหารนอกบ้านเป็นประจำ
- ผู้ที่ทำสีผม ทำเล็บบ่อยๆ
โลหะหนัก ภัยเงียบอันตรายต่อร่างกาย!!!
โลหะหนักในร่างกายเกิดจากการสะสมของโลหะบางชนิด โดยร่างกายได้รับผ่านอาหาร น้ำ สารเคมีในอุตสาหกรรม หรือแหล่งอื่นๆ หากเนื้อเยื่อมีการสะสมของโลหะหนักในปริมาณมากเกิน จะเกิดภาวะพิษทำให้เนื้อเยื่อเกิดความเสียหายรุนแรง และยังเป็นอีกปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ (NCDs) สารพิษกลุ่มโลหะหนัก เช่น
- อะลูมิเนียม ส่งผลกระทบปอด เป็นพิษต่อระบบประสาท ทำให้เกิดภาวะกระดูกบาง เสี่ยงต่อมะเร็งกระเพาะปัสสวาะและมะเร็งปอด
- ตะกั่ว ส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านสมอง ระบบประสาท ทางดินอาหาร ไต ตับและหัวใจ
- ปรอท ส่งผลกระทบต่อระบบประสาท ทำลายเนื้อเยื่อสมอง มีผลต่อการควบคุมระบบสายตาและการมองเห็น
- สารหนู หรือแคดเมียม ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ภาวะกระดูกพรุน ปวดศีรษะ มีการเคลื่อนไหวช้าลง
- นิกเกิล ความผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนัง อาการภูมิแพ้ผื่นคันตามผิวหนัง ระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ
สมดุลแห่งอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดีแบบองค์รวม ร่างกายของคุณได้รับสารอาหารเพียงพอหรือยัง?
การรับประทานชนิดของอาหารเสริมที่ไม่ตรงกับความต้องการของร่างกาย และหลายครั้งเกิดจากภาวะโลหะหนักสะสมในร่างกาย (Heavy metal accumulation) ซึ่งนอกจากจะกดภูมิต้านทานของร่างกายแล้ว โลหะหนักพวกนี้ยังไปยับยั้งการดูดซึมแร่ธาตุทำให้ร่างกายขาดแร่ธาตุที่จำเป็นต่างๆ เช่น สังกะสี (Zinc) ทองแดง (Copper) ซีลีเนียม (Selenium) นอกจากนี้ การขาดแร่ธาตุต่างๆ ยังส่งผลต่อประสิทธิภาพในการขับสารพิษจากโลหะหนักออกจากร่างกาย (Detoxification process) อีกด้วย ส่งผลให้เกิดอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ภูมิต้านทานทำงานบกพร่อง ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรัง
ความอื่นๆ
- ทำความรู้จัก เซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์ (MSCs) ตัวช่วยในการฟื้นฟูคืนความอ่อนเยาว์
- ผิวสวยด้วยวิตามินดี
- ฉีดฟิลเลอร์หน้าตอบ บอกลาหน้าแก่
- ฉีดวิตามินผิวใส (Vitamin Drip) ผิวใส ผิวขาว ผิวเนียนสวย แบบทันใจ
ติดต่อสยามคลินิกภูเก็ต
- ติดต่อเราได้ที่ สยามคลินิก ชั้น 1 ห้าง บิ๊กซี ภูเก็ต
- แผนที่ : https://g.page/SiamClinicPhuket
- โทรศัพท์ : 088-488-6718 และ 093-692-5999
- Email : [email protected]
- Facebook inbox : https://m.me/siamclinicthailand
- Instagram : https://www.instagram.com/siamclinic
- Line@ : @siamclinic หรือแอด https://lin.ee/uny1D7n
- Youtube : Siam Clinic สยามคลินิก คลินิกความงามภูเก็ต – YouTube