รายการตรวจวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ

การตรวจระดับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระ

Serum Light Detected

     วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระเป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการ เพื่อให้ระบบการทำงานและการเจริญเติบโตเป็นไปอย่างปกติวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ เหล่านี้ได้จากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน แต่ด้วยสภาพความรีบเร่งและอาหารจานด่วนที่มากขึ้น ทำให้คุณมีโอกาสขาดวิตามินสำคัญๆ หลายชนิด กลุ่มอาหารเสริมวิตามิน หรือวิตามินรวมหลากหลายยี่ห้อจึงเป็นทางเลือกที่แทบจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว แต่สิ่งที่ควรรู้คือ วิตามินและอาหารเสริมเหล่านั้นจำเป็นต่อร่างกายจริงหรือไม่ เพราะการรับวิตามินบางตัวมากเกินไปอาจส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อร่างกายได้

โปรแกรมตรวจระดับวิตามินในร่างกาย

โปรแกรมการตรวจระดับวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย ตรวจสมดุลของสารอาหาร วิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระ เพราะวิตามินและเกลือแร่ คือ สารอินทรีย์ที่จำเป็น ต่อชีวิตมีความสำคัญต่อการทำหน้าที่ตามปกติของร่างกายเรา เพื่อให้ร่างกายทำงานอย่างสมดุล และร่างกายไม่สามารถสร้างหรือสังเคราะห์วิตามินขึ้นเองได้ วิตามินจึงได้มาจากการรับประทานอาหารหรือผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเท่านั้น

โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับ

บุคคลทั่วไปที่อายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป ผู้ที่ต้องการทราบระดับวิตามินแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย และจำเป็นต่อระบบภูมิต้านทาน ผู้ที่อ่อนเพลียง่าย ป่วยง่าย เป็นหวัดบ่อย หรือมีอาการคล้ายโรคภูมิแพ้ ผู้ที่ทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ หรือทานมังสวิรัติ

เช็คความสมดุลของร่างกายด้วยโปรแกรมตรวจวิตามิน

เป็นการตรวจวัดปริมาณวิตามิน และสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของร่างกายในหลายระบบและช่วยป้องกันความเสี่ยงในการ เกิดโรค การตรวจวัดระดับของวิตามินเหล่านี้จะทำให้ทราบว่าร่างกายของเราขาดวิตามินชนิดใดบ้าง เพื่อที่จะได้เลือกเสริมวิตามินตัวนั้นที่ร่างกายของเราขาดได้อย่างตรงจุด เพื่อการส่งเสริมให้ร่างกาย สามารถทำงานได้อย่างมีสมดุล

รายการตรวจ 

  1. PAT Test ( Plasma Antioxidant Test ) ตรวจสารต้านอนุมูลอิสระ
  2. Free Radical Test ตรวจระดับอนุมูลอิสระ
  3. Antioxidant Profile 10 Vitamin A / Vitamin E ( gamma & alpha-Tocophenol) /Lycopene/Alpha & Beta -Carotene/Coenzyme Q10 Lutein+Zeaxanthin/ Beta -Crytoxanthin
  4. Vitamin B12 บำรุงประสาทและสมอง
  5. Vitamin B1
  6. Vitamin B2
  7. Vitamin B6
  8. Beta-carotene
  9. Folic acid
  10. Micronutrient Profile + Vitamin D2/D3
การเตรียมตัวก่อนรับบริการ
  • นอนหลับให้เพียงพอก่อนวันตรวจ
  • ควรสวมเสื้อที่ถอดง่าย สะดวกต่อการเจาะเลือดที่ข้อพับแขน
  • งดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และคาเฟอีนอย่างน้อย 8 ชั่วโมงก่อนตรวจ

บุคคลที่ควรตรวจ

  • ผู้ที่พบความผิดปกติทางร่างกายที่อาจเชื่อมโยงถึงสาเหตุของการขาดวิตามิน
  • ผู้ที่รับประทานวิตามินหรืออาหารเสริมเป็นประจำ
  • ผู้ที่ได้รับการรักษาด้วยยา (Pharmacological) เช่น การได้รับเคมีบำบัด การได้รับยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน หรือผู้ที่ผ่านการผ่าตัด เป็นต้น
  • ผู้ที่มีความเครียดสูง อยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ระบบดูดซึมไม่ดี มีปัญหาลำไส้
  • ผู้ที่เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากอนุมูลอิสระ (Oxidative stress-related disease) เช่น อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน หลอดเลือดสมองตีบ เป็นต้น

ความรู้วิตามิน

วิตามิน (Vitamin) เป็นสารอาหารสำคัญที่ร่างกายต้องการเพื่อให้การทำงานของระบบต่างๆ และการเจริญเติบโตเป็นไปอย่างปกติ โดยเราจะได้รับวิตามินจากอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน อย่างไรก็ตาม อาหารที่เลือกรับประทานอาจมีวิตามินในปริมาณที่น้อยหรือไม่ครบถ้วน หลายคนจึงเลือกรับประทานวิตามินเสริมเพิ่มเติมจากมื้ออาหารหลัก รับประทานวิตามินเสริมเวลาไหนดี? โดยปกติควรรับประทานวิตามินเสริมหลังมื้ออาหาร เพราะร่างกายจะสามารถดูดซึมไปใช้ได้ดีที่สุด และหากเป็นไปได้ควรเลือกมื้ออาหารที่เป็นมื้อใหญ่สุดของวัน ใครที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามิน? กลุ่มที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามิน ได้แก่
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ที่ได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ
  • ผู้ที่งดรับประทานเนื้อสัตว์
  • ผู้ที่แพ้อาหารบางประเภท เช่น นมวัว
  • ผู้ที่ผ่าตัดกระเพาะหรือลำไส้
  • ผู้รับประทานยาที่ส่งผลต่อการดูดซึมวิตามินบางอย่าง
  • ผู้ที่ดื่มสุรา สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนจำนวนมากเป็นประจำ ซึ่งจะทำให้ร่างกายสูญเสียวิตามินอย่างรวดเร็ว
การตรวจระดับวิตามิน
   เป็นการตรวจที่ทำให้รู้สภาวะขาดหรือเกินของวิตามินในร่างกาย เพื่อให้เลือกรับประทานเสริมได้อย่างเหมาะสม
การตรวจระดับวิตามิน สำคัญอย่างไร?
    การตรวจวัดระดับวิตามินในร่างกาย นอกจากจะทำให้ทราบว่าควรได้รับวิตามินชนิดใดเพิ่มเติมแล้ว ยังเป็นการป้องกันการเลือกรับประทานวิตามินบางชนิดมากเกินไป จนอาจก่อให้เกิดผลเสียด้วย
ประเภทของวิตามิน วิตามินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
  • วิตามินที่ละลายในน้ำ ได้แก่ วิตามินบี1 บี2 บี3 บี5 บี6 บี7 บี9 บี12 และวิตามินซี กลุ่มนี้จะอยู่ในร่างกายประมาณ 2-4 ชั่วโมง ส่วนที่เหลือจากการใช้งานจะถูกขับออกทางปัสสาวะ โอกาสที่จะสะสมในร่างกายจึงมีน้อย ไม่ค่อยก่อให้เกิดผลข้างเคียง
  • วิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ ดี อี และเค วิตามินชนิดนี้จะละลายในไขมัน หรือน้ำมันเพื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย ไม่สามารถขับออกทางปัสสาวะได้ หากได้รับมากเกินไปจะถูกสะสมไว้ในร่างกาย ซึ่งหากมีการสะสมมากเกินไปอาจมีผลเสียกับร่างกายได้
ตรวจ สารต้านอนุมูลอิสระ pat test คืออะร ทำไมต้องตรวจประเมิน
สารต้านอนุมูลอิสระ โดยร่างกายมีกระบวนการ ป้องกันการสะสมของอนุมูลอิสระอยู่ 2 วิธี จากการที่ร่างกายสร้าง เอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant enzymes) ขึ้นมาควบคุม โดยกระบวนการเปลี่ยนอนุมูลอิสระให้กลายเป็นน้ำ อีกวิธีคือ การได้รับ สารต้านอนุมูลอิสระ จากการรับประทานอาหาร  เช่น วิตามินซี วิตามินอี เบต้าแคโรทีน แอนโทไซยานิดิน (Anthrocyanidin) สารประกอบโฟลีฟีนอล รวมถึงโคเอนไซม์คิวเท็น (Coenzymes Q10) สารอนุมูลอิสระ (Free radials) เป็นอะตอมหรือโมเลกุล ซึ่ง อะตอมหรือโมเลกุล ประเภทนี้เกิดจาก กระบวนการต่างๆ ในการดำเนินชีวิต เช่น การเผาผลาญอาหาร กระบวนการสร้างพลังงาน ให้กับการเคลื่อนไหวและการดำเนินชีวิต การหายใจในระดับของเซลล์ กลไกการป้องกันตัวเองของร่างกาย จากเชื่อโรค และอีกทั้งเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น การสัมผัสแสงแดด รังสี การสูบบุหรี่ การรับประทานอาหารที่มีน้ำมัน อาหารปิ้ง ย่าง เผาที่ไหม้ เป็นต้น กรณีเกิดความไม่สมดุล ระหว่างการเกิดกับการกำจัด หรือการป้องกันการสะสมของอนุมูลอิสระ เช่น่ การสัมผัสแสงแดดเป็นประจำ การรับประทานอาหารปิ้งจนไหม้ วัยชรา กลไกลป้องกันเสื่อมลง ทำให้มีการสะสมสารอนุมูลอิสระเพิ่มมากขึ้น จนเกิดเป็นพิษให้กับร่างกาย โดยร่างกายเสี่ยงที่เนื้อเยื่อต่างๆ รวมถึง DNA ถูกทำลาย นำไปสู่โรคต่างๆ ที่สามารถเกิดขึ้นอย่างซับซ้อนทั่วร่างกาย เช่น โรคระบบหัวใจ และหลอดเลือด โรคทางสมองและระบบประสาท เช่น Pakinson และ Alzheimer โรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อ มะเร็ง รวมถึงความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เช่น ความยืดหยุ่นของผิวหนัง PAT test คือการประเมินสภาวะร่างกายที่แสดงถึงประสิทธิภาพ หรือศักยภาพในการต่อต้าน กับสารอนุมูลอิสระ เป็นการตรวจหา Total anti-oxidant ในร่างกาย เป็นการวัดความสามารถ โดยรวมในการต้านสารอนุมูลอิสระในเลือด (The Effective of antioxidant barrier) ใครบ้างควรได้รับการตรวจ PAT test
  • กลุ่มผู้มีสุขภาพดี สมบูรณ์
  • กลุ่มผู้ที่เป็นโรคที่มีสาเหตุจากอนุมูลอิสระ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคพาคินสัน
  • กลุ่มผู้ที่ได้รับยา เช่น การรับเคมีบำบัด การได้รับจากการผ่าตัด การปลูกถ่ายผิวหนัง การทำบายพาสหัวใจ และผู้ที่ผ่านการฟอกไต
  • กลุ่มผู้ที่ได้รับ หรือรับประทาน Antioxidant supplement เป็นประจำ
ควรตรวจบ่อยเท่าใด
  • คนที่มีสุขภาพดี ควรตรวจซ้ำทุก 6 เดือน
  • คนที่มีปัญหาทางสุขภาพควรอยู่ในการดูแลของแพทย์
โดยสรุปอาจจะกล่าวได้ว่า การตรวจหาสารต่อต้านอนุมูลอิสระ PAT test เป็นการประเมินสภาวะของร่างกายว่ายังมีความสมดุลอยู่หรือไม่ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า เป็นกระบวนการเพื่อประเมินสำหรับผู้ให้ความใส่ใจกับการเตรียมตัวเพื่อเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้กับร่างกาย ด้วยการรับประทาน antioxidant supplement การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร Super food  ว่าการเตรียมตัวได้ผลดี หรือยังต้องเพิ่มกระบวนการใดหรือไม่ อย่างไร
หมายเหตุ
  • หากตรวจพบว่า ระดับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายอยู่ในระดับต่ำ แพทย์อาจสั่งจ่ายวิตามินเฉพาะบุคคล
  • วิตามินเสริมไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปแบบของวิตามินเม็ดเท่านั้น แต่สามารถได้จากอาหาร ผัก หรือผลไม้ที่มีประโยชน์เช่นกัน
  • หากมีผลการตรวจสุขภาพครั้งล่าสุด ควรพกติดตัวมาด้วย
  • หากมียา วิตามิน หรือสมุนไพร ที่รับประทานเป็นประจำ ควรนำมาด้วย อาจจดบันทึกหรือถ่ายรูปฉลากมาแทนได้
 

 

ความอื่นๆ


ติดต่อสยามคลินิกภูเก็ต