OFFICE SYNDROME TREATMENT บอกลาออฟฟิศซินโดรม SHOCK WAVE

0
727

Office Syndrome ออฟฟิศซินโดรม เป็นอาการที่กำลังแพร่หลายในหมู่คนทำงานออฟฟิศ ออฟฟิศซินโดรมเกิดขึ้นมานานแล้ว และเป็นอาการที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ตราบใดที่เรายังต้องนั่งทำงานที่ออฟฟิศทั้งวัน โดยไม่ขยับตัวไปไหนเลย ซึ่งหลายๆคนที่มีอาการของ Office Syndrome ก็มักจะไปหนวดผ่อนคลาย เพื่อลดอาการ ซึ่งเป็นวิธีแก้ที่ปลายเหตุ หรือบางคนมีอาการมากๆ ก็ต้องรับประทานยาแก้ปวด จนบางทีกลายเป็นติดยาแก้ปวดไปอีก และอาจนำมาซึ่งโรคเรื้อรังอื่นๆตามมาจากการรับประทานยามากเกินไป ปัจจุบัน Office Syndrome เริ่มเป็นอาการที่ยิ่งแพร่หลายมากขึ้นไปอีก เพราะการที่ต้องทำงานอยู่กับบ้าน (Work from Home) ทำให้ช่วงเวลาของการนั่งติดอยู่กับที่นานๆ เริ่มขยายเวลามากขึ้น จากที่เคยแค่นั่งหน้าคอมพ์เพื่อพิมพ์งาน กลายเป็นต้องนั่งหน้าจอเพื่อประชุมออนไลน์กันทีหนึ่ง 4-5 ชั่วโมง บางทีไม่ได้ลุกไปไหนเลย ทำให้ ออฟฟิศซินโดรมกลับมาเป็นอาการยอดฮิตอีกครั้ง และทำให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานและใช้ชีวิต เมื่อเป็นอาการยอดฮิต ที่คนที่ทำงานนั่งโต๊ะเป็นเวลานานมักจะเคยเป็น เราลองมาทำความรู้จักกับ ออฟฟิศซินโดรม สักหน่อยดีกว่าค่ะ

สารบัญ hide

Office Syndrome ออฟฟิศซินโดรม คืออะไร?

Office Syndrome เป็นกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนทำงานออฟฟิศ ที่สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม หรือต้องอยู่ในท่าทางเดิมเป็นเวลานานต่อเนื่อง ทำให้กล้ามเนื้อมีความตึงตัวเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เช่น หลัง คอ บ่า ไหล่ แขน ข้อมือ หากยังไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ปล่อยอาการปวดแบบนี้ทิ้งไว้นาน ๆ อาการจะยิ่งหนักขึ้นจนเป็นอาการปวดเรื้อรัง เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ที่ระดับคีย์บอร์ดสูงเกินไป หรือก้มศีรษะเล่นมือถือนานๆ ทำให้เกิดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อคอ บ่าและไหล่ได้ หากเกิดการสะสมนานๆจะเกิดอาการปวดร้าวขึ้นศีรษะ ซึ่งบางคนอาจจะคิดว่าเป็นอาการไมเกรน แต่แท้จริงแล้วเกิดจากการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อที่สะสมมานาน การใช้มือกดคีย์บอร์ด คลิกเมาส์ เมื่อกระดกข้อมือขึ้นลงซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ก็ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเส้นเอ็นบริเวณข้อมือ เกิดภาวะพังผืดหนาตัวไปทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการชาบริเวณนิ้วและข้อมือ หรือนิ้วล็อก ขยับนิ้วมือได้ลำบากเป็นต้นค่ะ ซึ่งสาเหตุของอาการออฟฟิศซินโดรมสามารถสรุปได้ดังนี้

หลายคนอาจไม่ได้คิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ในช่วงแรกๆ แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการแก้ไข โรคออฟฟิศซินโดรมอาจนำไปสู่ปัญหาร้ายแรงที่ส่งผลให้มีอาการปวดและอักเสบเรื้อรัง ซึ่งนำมาสู่ความเครียดและภาวะอื่นๆทางร่างกายได้

อาการในกลุ่มออฟฟิศซินโดรม Office Syndrome มีอะไรบ้าง?

1. อาการปวดกล้ามเนื้อและ/หรือเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome)

เป็นอาการปวดที่พบได้บ่อยอันดับต้นๆสำหรับโรคออฟฟิศซินโดรม โดยจะมีจุดกดเจ็บ (trigger points) ภายในกล้ามเนื้อแต่ละมัดซึ่งเกิดจากการที่กล้ามเนื้อเกร็งหรือหดตัวซ้ำๆสะสมเป็นเวลานาน เมื่อกดหรือคลําที่จุดจะพบเป็นก้อนพังผืดแข็งอยู่ภายในมัดกล้ามเนื้อ และอาจทำให้รู้สึกปวดร้าวเฉพาะจุดหรืออาจปวดร้าวไปที่จุดอื่นของร่างกาย มักพบบ่อยในบริเวณคอ บ่า สะบัก

2. เส้นประสาทที่ข้อมือถูกกดทับ (Carpal Tunnel Syndrome)

อาการนี้เกิดขึ้นจากการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ทำให้เกิดความรู้สึกเสียวซ่า ชา และปวดในมือ ข้อมือ และนิ้วมือ หากอาการรุนแรงมากขึ้น อาจทำให้แรงในการบีบมือลดน้อยลง เนื่องจากกล้ามเนื้อเกิดการหดตัว อาการปวดจะเพิ่มขึ้นและเกิดตะคริวบ่อยครั้ง และหากปล่อยไว้โดยไม่มีการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ อาจทำให้สูญเสียความรู้สึกที่นิ้วได้เช่นกัน

3. นิ้วล็อก (Trigger Finger)

อาการนิ้วล็อกเป็นภาวะที่นิ้วข้างใดข้างหนึ่งติดอยู่ในท่างอ ทำให้เกิดอาการปวดตึง และนิ้วมีอาการสะดุดและอาจล็อคเมื่องอหรือเหยียดนิ้ว ซึ่งถ้าปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้งอนิ้วไม่ได้ หรือต้องช่วยง้างนิ้วออกเมื่อเกิดการล็อก

4. เอ็นอักเสบ (Tendinitis)

เป็นการอักเสบของเส้นเอ็นที่เกิดขึ้นเมื่อได้รับบาดเจ็บที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งซ้ำๆ การใช้งานเส้นเอ็นมากเกินไป เช่น ในระหว่างการเล่นกีฬา โดยมักเกิดขึ้นบริเวณข้อต่อต่างๆ เช่น ข้อเข่า ข้อศอก ข้อมือ หัวไหล่ และส่วนอื่นๆของร่างกาย


ดูแลตัวเองอย่างไร ไม่ให้เป็น Office Syndrome

  • ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ทุกๆครึ่งชั่วโมง ควรลุกเดินไปเดินมาซัก 10 นาที เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อถูกดทับจากการนั่งในท่าเดียวนานๆ
  • เตรียมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้พร้อม เช่น ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ หรือการยืดเส้นบ้างในเวลาที่ว่าง จะเป็นการช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงก่อนและหลังทำงาน ควรยืดเส้นซักประมาณ 5-10 นาที
  • พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนน้อยเกินไปจะทำให้ร่างกายเกิดความเครียด และแสดงออกด้วยการปวดตามร่างกาย

การรักษาอาการ Office Syndrome

  • รับประทานยาแก้ปวดตึงกล้ามเนื้อ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ และไม่ใช่วิธีที่ยั่งยืน และถ้ารับประทานมากๆ ก็อาจทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาอีกด้วย
  • นวดผ่อนคลาย ซึ่งก็เป็นวิธีแก้ที่ปลายเหตุอีกเช่นกัน
  • การใช้วิธีกระตุ้นด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อลดอาการปวดกล้ามเนื้อ วิธีนี้ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัย และรักษา
  • การใช้เลเซอร์ช่วยบำบัดอาการปวดกล้ามเนื้อ ซึ่งถือได้ว่าเป็นเรื่องใหม่ ที่สามารถช่วยลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ ด้วยการใช้เครื่อง Indiba ที่ใช้นวัตกรรม Proionic  ซึ่งเป็นเลเซอร์ที่ถูกพัฒนามาเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อในระดับเซลล์

การรักษาอาการ Office Syndrome ด้วย Shock wave หรือ การรักษาด้วยคลื่นกระแทก

เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ใช้ในการรักษาอาการปวดเรื้อรัง ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เนื่องจากสามารถลดอาการปวดที่เรื้อรังได้ทันทีหลังการรักษา เครื่อง Shock wave ได้การรับรองเครื่องหมาย ความปลอดภัยจาก FDA สหรัฐอเมริกา จึงมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยสูงในรักษา


คลื่นกระแทก (Shock wave) คืออะไร

Shock wave คือ เทคโนโลยีใหม่ทางกายภาพบำบัด โดยใช้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของคลื่นกระแทกที่เกิดจากการอัดของอากาศ ส่งผ่านพลังไปยังบริเวณกล้ามเนื้อที่ตึงตัว กระตุ้นให้เนื้อเยื่อเกิดการบาดเจ็บใหม่ (Re-injury) หลังจากนั้นร่างกายจะเกิดกระบวนการซ่อมแซม และสร้างเนื้อเยื่อขึ้นใหม่ (Re-healing) จึงช่วยให้อาการปวดลดลง และกล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้น การทำ Shock wave แต่ละครั้งจะใช้จำนวนนัดยิงประมาณ 2,000-3,000 นัด


ประโยชน์ของการรักษาด้วย Shock wave

ประโยชน์ของการรักษาอาการปวดด้วยเครื่อง Shock wave มีมากมาย คลื่นกระแทกสามารถส่งพลังงานผ่านผิวหนังลงลึกเข้ากล้ามเนื้อและเส้นเอ็นได้ประมาณ 3-4 เซนติเมตร ทำให้เกิดผลทางชีวภาพในเนื้อเยื่อดังต่อไปนี้

  • กระตุ้นการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
  • กระตุ้นให้เกิดการสร้างหลอดเลือดใหม่
  • กระตุ้นการไหลเวียนเลือด
  • กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน
  • ยับยั้งกระบวนการอักเสบ
  • ลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และจุดกดเจ็บเกิดการผ่อนคลาย
  • ช่วยสลายหินปูนในเส้นเอ็น
  • กระตุ้นให้ร่างกายเกิดอาการบาดเจ็บใหม่ และเกิดกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นใหม่

อาการที่เหมาะกับการรักษาด้วย Shock wave

  • อาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง
  • อาการของ office syndrome
  • อาการปวดคอ บ่า ไหล่
  • อาการปวดหลัง
  • อาการปวดสะโพก
  • อาการปวดส้นเท้า โรครองช้ำ
  • เส้นเอ็นอักเสบ
  • อาการปวดข้อศอก ข้อมือ

การดูแลตัวเองหลังการทำ Shock wave

หลังเข้ารับการรักษาด้วย Shock wave ในบริเวณที่รักษาอาจมีอาการปวดระบมได้ เนื่องจากแรงกระตุ้นของคลื่นกระแทก โดยอาจมีอาการ 1-2 วัน หลังจากนั้น อาการปวด หรือความตึงตัวของกล้ามเนื้อจะลดลง โดยสามารถลดการระบมของกล้ามเนื้อได้โดยควรพักการใช้งานหนัก หรือการออกกำลังกายบริเวณที่ได้รับการรักษา 1-2 วัน ยืดกล้ามเนื้อเบาๆ หลีกเลี่ยงการนวด เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบมากยิ่งขึ้น


ผลลัพธ์ และระยะเวลาการรักษา

ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดน้อยหรือเพิ่งเริ่มมีอาการ การใช้ Shock wave จะเห็นผลทันทีหลังรักษา ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาก พบว่าอาการปวดลดลงได้ 50% การรักษาด้วยคลื่นกระแทกควรเว้นระยะห่างของการรักษา 5-7 วัน เพื่อให้ร่างกายเกิดการซ่อมแซมเนื้อเยื่อก่อนที่จะเริ่มการรักษาครั้งถัดไป โดยการรักษาด้วย shock wave สามารถทำควบคู่ไปกับการรักษาทางกายภาพบำบัดชนิดอื่นได้ เช่น อัลตราซาวนด์ หรือ เลเซอร์ ซึ่งจะส่งเสริมให้การรักษาดียิ่งขึ้น จำนวนครั้งที่ใช้ในการรักษา จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บของผู้ป่วย โดยประมาณ 3-5 ครั้ง


อาการข้างเคียงที่อาจเกิดหลังทำ Shock wave

  • บวม ผื่นแดง
  •  ห้อเลือด
  • จุดเลือดออก
  • อาการปวดชั่วคราว
  • เป็นก้อนเลือด

อาการเหล่านี้ส่วนมากจะหายภายใน 5-10 วัน แต่หากผู้ป่วยพบอาการดังกล่าวเกินระยะเวลานี้ ควรติดต่อพบแพทย์


ข้อห้ามในการรักษาด้วยคลื่น Shock wave

  • บริเวณที่มีการติดเชื้อ
  • บริเวณที่มีเนื้องอก
  • บริเวณที่เป็นแผล
  • บริเวณที่มีการอักเสบของเส้นประสาท
  • บริเวณที่มีหลอดเลือดโป่งพอง

ผู้ที่ไม่เหมาะกับการทำ Shockwave

กลุ่มที่ไม่เหมาะกับการรักษาด้วยคลื่นกระแทก Shockwave ได้แก่

  • เด็ก ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18
  • สตรีที่กำลังตั้งครรภ์
  • ผู้ป่วยมะเร็ง
  • ผู้ที่มีภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก
  • ผู้มีภาวะเลือดแข็งตัวช้า
  • ผู้ที่ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ
  • ผู้ที่ได้รับการฉีดยาสเตียรอยด์มาภายใน 6 สัปดาห์


บทความอื่นๆ


ติดต่อสยามคลินิกภูเก็ต

บทความก่อนหน้านี้ผิวไหม้แดด ปัญหาที่ไม่ควรละเลย สาเหตุมาจากอะไร
บทความถัดไปการรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ด้วยเทคนิคใหม่ EDSWT : Intensive Shock Wave Technique