ประกันการเดินทาง กับเรื่องที่บริษัทประกันอาจจะไม่อยากให้เรารู้ !!! รวบรวมประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ประกันการเดินทางของตนเอง แรกๆเคลมไม่ได้เพราะเอกสารไม่พร้อม มาตอนนี้เคลมได้ถูกต้องในทุกกรณีที่ให้ไว้ เตรียมตัวไว้หลังยุคโควิด ได้เตรียมพร้อมเดินทางสำหรับโลกที่เปลี่ยนไป อย่าพึ่งซื้อประกันใดๆ หากยังไม่รู้ข้อมูลที่ผมจะนำมาเล่าเหล่านี้มาก่อน
**คำถามบางคำถามที่มีคำตอบในนี้**
- 0:35 ประกันการเดินทาง (Travel Insurance) คืออะไร ทำไมต้องซื้อประกัน
- 1:54 ทำไมถึงต้องซื้อประกันการเดินทาง
**สิ่งที่ประกันการเดินทาง (มักจะ) ครอบคลุม**
- 2:10 กรณีเสียชีวิตที่ต่างประเทศ
- 2:36 การเจ็บป่วยที่ต่างประเทศ (ผู้ป่วยใน/ผู้ป่วยนอก)
- 4:03 การขนย้ายผู้ป่วยข้ามประเทศ/เคลื่อนย้ายฉุกเฉิน
- 6:24 การเดินทางล่าช้าด้วยเหตุสุดวิสัย
- 8:24 การยกเลิกการเดินทาง
**เรื่องของสัมภาระ**
- 9:38 สัมภาระสูญหาย
- 10:37 สัมภาระถูกบุกรุกเข้ามาเพื่อขโมยของ
- 11:13 กรณีสัมภาระล่าช้า
- 12:27 สัมภาระเสียหายจากการเดินทาง เช่น ระหว่างเก็บบนเครื่องบิน
**เช่ารถขับต่างประเทศ**
- 14:49 การชดเชยความรับผิดส่วนแรก
**ประกันการเดินทางไม่ครอบคลุมเรื่องใดบ้าง**
- 17:00 กิจกรรมที่ไม่ครอบคลุม
- 17:50 โรคประจำตัวที่เป็นมาก่อนเดินทางแล้ว
- 19:31 การดื่มสุราจนมีอาการมึนเมา
- 19:48 กิจกรรมเสี่ยงภัย
- 20:04 อาการปวดฟัน
**เรื่องอื่นๆ**
- 20:47 การยกเลิกประกันการเดินทาง
- 22:10 ซื้อประกันภัยกับบริษัทไหนดีที่สุด
- 23:40 สรุปเรื่องประกันการเดินทางใน 5 ข้อ
ข้อควรพิจารณาก่อนการซื้อประกันการเดินทาง
- ซื้อประกันให้เกินกว่าวันเดินทางจริงเสมอ การซื้อประกันเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเดินทางเป็นสิ่งที่จะเป็น โดยเราควรซื้อประกันการเดินทางให้เกินจากจำนวนวันเดินทางที่แท้จริงเสมอเพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน
- ซื้อประกันการเดินทางให้สอดคล้องกับประเทศหรือกิจกรรม หลายครั้งที่เมื่อเกิดเหตุการณ์แล้วไม่สามารถเคลมได้ เนื่องจากประเทศหรือกิจกรรมนั้นไม่อยู่ในรายละเอียดการคุ้มครองของกรมธรรม์ เช่น การปีนเขา เดินป่า กิจกรรมที่มีความเสี่ยงสุงทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
- รายละเอียดการครอบคลุมค่าใช้จ่ายส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล ค่าขนย้ายผู้ป่วย ค่าดีเลย์ของสายการบิน สัมภาระดีเลย์ การเสียชีวิต การขนส่งศพกลับประเทศ การยกเลิกการเดินทาง เป็นต้น
- ขอเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการเคลมเสมอ ทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจำเป็นที่จะต้องขอเอกสารเพื่อเป็นหลักฐานในการเคลมเสมอ ซึ่งควรเป็นภาษาอังกฤษ และขอเมื่อเกิดเหตุการณ์ทันที ไม่ควรขอย้อนหลังเนื่องจากเป็นไปได้ยาก
- บันทึกเบอร์ฉุกเฉินของแต่ละประเทศไว้ และควรเปิดโรมมิ่งไว้ เพื่อเตรียมพร้อมในการติดต่อตัวแทนกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
- อย่าลืมเตรียมเรื่องยาไปให้พร้อมก่อนเดินทาง อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
ประเภทของประกันการเดินทาง
โดยประเภทของประกันการเดินทาง แยกเป็น 2 ประเภท คือ
- ประกันรายทริป
- ประกันรายปี ในส่วนของประกันรายปี มักมีข้อกำหนดมากขึ้น อันได้แก่ จำนวนวันที่เดินทางในแต่ล่ะทริป เป็นต้น ซึ่งประกันการเดินทางจะครอบคลุมตั้งแต่วันที่ซื้อเดินทางจนกลับถึงจุดหมายปลายทาง โดยสามารถยกเลิกประกันก่อนการเดินทางได้กรณีที่ไม่สามารถเดินทางได้แล้วเพื่อขอเงินประกันคืน ในปัจจุบันหลายๆบัตรเครดิตมักครอบคลุมประกันการเดินทางมากแล้ว แต่จำเป็นที่จะต้องพิจารราประกอบร่วมว่าประกันดังกล่าวครอบคลุมในส่วนไหนบ้าง
ในการไปท่องเที่ยวกับบริษัททัวร์แนะนำให้เราพิจารณาประกันการเดินทางในส่วนนี้ด้วยว่าครอบคลุมอะไรบ้าง ซึ่งบริษัทประกันแต่ล่ะบริษัทมีความแตกต่างกัน ดังนั้น ควรเลือกบริษัทที่มีบริการ 24 ชั่วโมงเพื่อให้สามารถช่วยเหลือได้รวดเร็วที่สุด รวมทั้งข้อมูลทางด้านสังคมว่าบริษัทนั้นมีความน่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน ระยะเวลาในการขอเคลมใช้เวลาเท่าใด จากสื่อหรือข้อมูลในช่องทางต่างๆ
สาเหตุที่ต้องทำประกันการเดินทาง
- โดยบังคับ เช่น การทำวีซ่า
- โดยสมัครใจ เพื่อป้องกันความเสี่ยงและค่าเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ไม่คาดฝัน รวมไปถึงการเสียชีวิต
หลักเกณฑ์ที่ประกอบการพิจารณาประกันการเดินทาง
- การป้องกันความเสี่ยงจากการเสียชีวิต
- การรักษาพยาบาลในต่างประเทศ ในประเทศที่พัฒนาแล้วการรักษาพยาบาลมีคราคาสูงมาก ปกติแล้วค่ารักษาพยาบาลควรอยู่ในระดับ 2-3 ล้าน โดยโรงพยาบาลที่ใช้บริการควรเป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายของประกันนั้น แนะนำให้โทรหาประกันเพื่อขอคำแนะนำ เรื่องสถานที่ โรงพยาบาลและการครอบคลุม
- การขนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน (Evacuation)
- การส่งตัวกลับประเทศ (Repatriation) มักพบในกรณีที่ผู้ป่วยหนักมาก ซึ่งใช้จ่ายส่วนนี้สูงมาก ควร 3-4 ล้านบาทขึ้นไปเพื่อครอบคลุมทุกกรณี
- ขนย้ายศพกลับประเทศ
- การดีเลย์การเดินทาง เช่น รถไฟดีเลย์ รถบัสดีเลย์ เที่ยวบินดีเลย์ ที่ส่งผลให้แผนการเดินทางเปลี่ยนไป เหตุผลหลักที่สามารถเคลมประกันได้ เช่น สภาพอากาศเลวร้าย จากสภาพอากาศ ** หลักฐานสำคัญมาก ได้แก่ ตั๋วเครื่องบินหรือยานพาหนะเดิมก่อนและตั๋วใหม่จากการดีเลย์ หนังสือรับรองการดีเลย์จากสายการบิน กรณีขับรถ อาจจะใช้ภาพจากกรมทางหลวงที่แสดงวันเวลาชัดเจน รวมไปถึงค่าโรงแรม มักนับเวลาดีเลย์เป็นชั่วโมง (ระยะเวลาสั้นยิ่งดี)
- การยกเลิกการเดินทาง เกิดได้ 2 กรณี ยังไม่ได้เดินทาง และยกเลิกเนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- สัมภาระสูญหาย/ถูกบุกรุก จี้ปล้น ฉกชิงสิ่งราว มีการทำร้ายร่างกาย แจ้งความแล้วนำใบแจ้งหนี้มาเป็นหลักฐานในการประกอบการเคลมได้ จะต้องไม่ได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อ
- สัมภาระล่าช้าของสายการบิน ในประเทศที่สายการบินยังไม่ดีนักเดินทางควรแบ่งสัมภาระเป็น 2 ส่วนในสัมภาระที่พกติดตัว ทันทีที่ทราบว่าสัมภาระล่าช้าต้องให้เจ้าหน้าที่สายการบินออกเอกสารรับรองว่าสัมภาระล่าช้าเพราะเหตุใดกี่ชั่วโมง กรณีที่จำเป็นที่จะต้องซื้อสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ จะต้องเก็บใบเสร็จไว้ทุกครั้งและมูลค่าจะต้องสมเหตุสมผล
- สัมภาระเสียหายของการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นจากสายการบินหรือพนักงานโรงแรม ให้ถ่ายรูปสัมภาระทุกชิ้นไว้เสมอ รวมถึงหลักฐานการซื้อ หากเป็นไปได้ รวมทั้งขอเอกสารรับรองจากทางโรงแรมหรือสายการบินว่าเกิดความเสียหาย ทั้งนี้โดยปกติแล้ว สายการบินหรือโรงแรมจะรับผิดชอบเบื้องต้นให้ก่อนเสมอ และมักจะไม่ครอบคลุมสินค้าประเภทอิเลคทรอนิกส์
- ค่าชดเชยความรับผิดชอบส่วนแรกสำหรับรถเช่า (Rental Vehicle Excess) ควรซื้อประกันชั้นหนึ่ง ทุกครั้งที่เกิดอุบัติเหตุหากไม่มีคู่กรณี ประกันมักสรุปว่าเหตุการณ์นั้นเกิดจากความประมาท เป็นเงินที่เราวางมัดจำไว้ก่อนโดยทางบริษัทประกันสามารถเรียกเก็บจากเราได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสำรองจ่ายล่วงหน้านั่นเอง
เมื่อมีอาการเจ็บป่วยควรทำอย่างไร
- ค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศ สำคัญมาก เช่น ตัวอย่างค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศ พบแพทย์ผู้ป่วยนอกที่ญี่ปุ่น จ่าย 1-2 หมื่น เกิดต้องไปหัวใจล้มเหลวที่ญี่ปุ่น จ่าย 18 ล้านเยน หรือ 6 ล้านบาท
- สมมติเหตุการณ์ต่อเราป่วยต้องทำอย่างไร > เช็คสถานพยาบาลในเครือข่าย
- ควรวางแผนการเดินทาง + รพ ในเขตเมืองที่เราไปเที่ยว ไปอยู่ก่อนทุกครั้ง
- ระบบการจ่ายเงินของประกัน จะแบ่งเป็นแบบนี้
- OPD จ่ายก่อนเองทั้งหมด / IPD ไม่ต้องจ่าย เรียกว่า Fax claim
- ถ้าเป็น OPD Case อาการไม่รุนแรง
- สอบถาม รพ / คลินิก ในเครือข่าย
- จ่ายเงินเอง + ขอใบรับรองแพทย์กลับมา
- ให้ทาง รร / ที่พัก / ทัวร์ ช่วยจัดการเรื่องการเดินทางให้ได้
- ถ้าเป็น Case emergency ฉุกเฉิน อุบัติเหตุ
- โทรหาเบอร์ฉุกเฉินของประเทศนั้นๆก่อน เช่น ไทย 1669 / อเมริกา 911
- ระหว่างนั้นให้ติดต่อ บ ประกันโดยโทรเข้า office เมืองไทยโดยด่วน
- โทรผ่าน roaming
- โทรผ่าน VOIP เช่น Viber/Skype ประหยัดเงินกว่า
- บริษัทประกันจะช่วยประงานต่อในด้านนี้ให้
- การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกลับประเทศ
- Evacuation การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น เฮลิคอปเตอร์ พวกคนเดินเขา เด่นชัดที่เนปาล
- อันนี้แถม บางพื้นที่จะมีบริการขนย้ายเฉพาะซึ่งจะทำงานได้รวดเร็วกว่าเช่น Flying Doctor Africa ในคนที่ไปเที่ยวโซนแอฟริกาตะวันออก ซาฟารี คิลิมานจาโร
- Repatriation การส่งตัวกลับประเทศ ในรูปแบบคนป่วยหรือศพคนตาย มี เครื่องบิน มีแพทย์ / ไม่มีแพทย์ เริ่มต้นที่ 7 หลัก 1/2/3/4 ล้านบาท
ปัญหาที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ประกันการเดินทาง
การดีเลย์การเดินทาง Connecting flight ล่าช้า รถบัสล่าช้า รถยนต์ล่าช้า
- ทุกอย่างเคลมได้หมด แต่ต้องมีเอกสาร
- เครื่องบิน ต้องมี เอกสารยืนยันจากสายการบิน ที่ระบุสาเหตุของความล่าช้า การแก้ไขปัญหาของสายการบิน อาหารที่พักที่ได้รับ ระยะเวลาของการรอคอย + boarding pass ตัวเก่า/ตัวใหม่ ห้ามทำหายเด็ดขาด
- รถไฟ/รถยนต์ เอกสารเหมือนของเครื่องบิน
- กรณีเช่น อยู่ไอซ์แลนด์ ขับรถเที่ยว ติดพายุหิมะ (แต่เครื่องบินไม่ได้ดีเลย์) แบบนี้ก็เคลมได้แต่ต้องมี หลักฐานอื่นๆเช่น หลักฐานจากกรมอุตุนิยมวิทยา + กรมทางหลวงแจ้งว่า ถนนปิด เพื่อใช้อ้างอิง ในยุโรปหาหลักฐานไม่ยาก
- คิดเป็นทุกๆ 6 ชั่วโมง ต้องครบ 6 ชั่วโมง ถึงจะสามารถเคลมค่าใช้จ่ายได้ ตัวอย่างคือ
- ถ้า 0-5.59 ชั่วโมง ไม่ได้
- ถ้า 6-11.59 ชั่วโมงได้ 1 ครั้ง
- ถ้า 12-17.59 ชั่วโมงได้ 2 ครั้ง
- ถ้ามีประกันการเดินทางจากบัตรเครดิตมาแล้ว ส่วนใหญ่บริษัทประกันจะถือว่าเราได้รับทางใดทางหนึ่งเท่านั้น
การยกเลิกการเดินทาง เราสามารถทำอะไรได้บ้างจากประกันของเรา
- การยกเลิกต้องมีเหตุผลอันสมควร การป่วยแบบฉุกเฉิน ต้องเป็นภาวะการป่วยที่เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว เช่น อุบัติเหตุ
- ถ้าเป็นการป่วยไม่ฉุกเฉิน รู้มานานแล้วว่าป่วย แต่ต้องรักษาก่อนเดินทางกระทันหันแบบนี้อาจจะไม่ได้
- ประกันจะชดเชยเงินที่จ่ายไปแล้วขอคืนไม่ได้ถ้าเราจำเป็นยกเลิกก่อนออกเดินทาง เหตุผลที่จะเคลมได้ ก็คือ เคสอาการเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือเสียชีวิตของเราเอง สมาชิกในครอบครัว หรือผู้ร่วมทริป เคสภัยธรรมชาติในจุดหมายที่จะไปหรือทำให้เที่ยวบินถูกยกเลิก เคสก่อการร้ายในจุดหมายที่เราจะไป เคสบริษัททัวร์ล้มละลาย เคสถูกเรียกให้ขึ้นศาล และอื่น ๆ อีกมากมายครับ
- นอกจากนี้ยังมีความคุ้มครองการลดเวลาเดินทาง เช่น ถ้าเรามีแพลนเที่ยว 10 วัน ผ่านไปแล้ว 2 วันเราต้องรีบกลับบ้านด่วน ประกันการเดินทาง (travel insurance) ก็จะชดเชยเงินที่เราจองไปแล้วของ 8 วันที่ไม่ได้เที่ยวต่อ รวมถึงค่าเครื่องบินกลับบ้านด้วย
- เวลาถ้าซื้อกรมธรรม์เป็นรายทริป เลือกจำนวนเผื่อๆไว้จะดีกว่า +1 +2 วัน ราคากรมธรรม์แทบไม่เปลี่ยน
สัมภาระสูญหายระหว่างเดินทาง ทำอย่างไรกับประกันได้บ้าง
- ต้องเป็นการถูกจี้ปล้น ต่อหน้าต่อตาเท่านั้น มีใบแจ้งความจากสถานีตำรวจ ถ้าไม่ใช่ภาษาอังกฤษต้องนำมาแปลก่อนด้วยตนเอง
- สัมภาระเสียหาย โดย ใครบางคน เช่น โรงแรมยกกระเป๋าทำพลาด กระเป๋าพัง ต้องมีหลักฐานจากโรงแรม
- แบบไหนที่เคลมไม่ได้
- ทิ้งสัมภาระไว้ที่ชายหาดหรือริมสระว่ายน้ำ แล้วโดยขโมย
- ทิ้งสัมภาระไว้ที่สถานีรถไฟ หรือป้ายรถเมล์ แล้วลืม กลับมาอีกทีของหาย
- ทิ้งสัมภาระไว้ในสถานที่ท่องเที่ยวขณะที่เราเดินเล่นหรือกำลังถ่ายรูป และโดนขโมยของ
- ฝากของไว้ที่คนแปลกหน้า และโดยขโมยไป
- โดนขโมยโดยไม่รู้ตัว ไม่สามารถเคลมได้
- สัมภาระถูกบุกรุกเข้ามาเพื่อขโมยของ (Break-ins)
- ไม่ว่าจะเป็นการบุกเข้ามาในห้องโรงแรม หรือบุกเข้ามาในรถ จะได้รับความคุ้มครอง แต่กระนั้นก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข
- ถ้ามีหลักฐานว่า สิ่งที่หายไปนั้น ส่วนหนึ่งมาจากการประมาทเลินเล่อของเราเอง ประกันมีสิทธิ์ไม่จ่าย อาทิ หากเราไม่ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่มีของโรงแรม ไม่ล็อกประตู ไม่ปิดหน้าต่าง จนคนเข้ามาขโมยได้ หรือ เราเอาที่ลืมของมีค่าไว้ในรถค้างคืน จนของหาย สิ่งเหล่าเป็นเครื่องพิสูจน์ชัดว่า เราเลินเล่อ และอาจเป็นช่องให้ประกันเดินทางไม่จ่ายได้นั่นเอง
สัมภาระล่าช้า ทำอย่างไรกับประกันได้บ้าง
- ทันทีที่ทราบว่ากระเป๋าล่าช้า ให้ทางสายการบินออกหนังสือรับรองการล่าช้าทันที
- สายการบินต้องออกหนังสือรับรองอีกครั้งทันที่ทีเราได้สัมภาระแล้ว หรือหลักฐานทางอ้อมอื่นๆ เช่น หลักฐานการคุยทางข้อความ หลักฐานทางโทรศัพท์
- ถ้าเป็นสิ่งของจำเป็นที่เราต้องซื้อระหว่างใช้ชั่วคราวเช่น เสื้อผ้า กางเกงใน ของอุปโภคบริโภค ต้องเก็บใบเสร็จไว้เพื่อใช้อ้างอิง
สัมภาระเสียหายระหว่างทาง โดยสายการบินเป็นผู้กระทำ ทำอย่างไรกับประกันได้บ้าง
- ถ่ายรูปกระเป๋า/สัมภาระ ก่อนเดินทางเสมอ ถ้ามีหลักฐานราคาของกระเป๋าที่ซื้อมา ถือว่าดีมาก
- ทันที่ได้รับกระเป๋ามา และพบว่ากระเป๋าพัง ให้แจ้งที่เคาท์เตอร์รับผิดชอบของสายการบิน เราต้องได้ใบรับรองมาว่าพังส่วนไหน เพื่อใช้ในการเคลมตอนกลับมาเมืองไทย
- แต่ถ้าพังรุนแรง จำเป็นต้องซื้อใบใหม่ ซื้อใบใหม่ในราคาที่เหมาะสม (ไม่ใช่ Rimowa) เก็บใบเสร็จไว้มาอ้างอิง
- ในกรณีของกระเป๋าเช็คอิน หรือ กระเป๋าเดินทางโหลดใต้เครื่องหาย นั้น หากเกิดความเสียหาย หรือข้าวของหายไปจากกระเป๋าเดินทาง หรือทั้งกระเป๋าหายไป อย่างแรกแนะนำให้เรียกแค่สินไหมทดแทนจากสายการบินก่อนนะครับ เพราะถือว่ากระเป๋าเสียหายหรือสูญหายในขณะที่อยู่ในการดูแลของสายการบิน หลังจากนั้นจึงมาเคลมประกันเดินทางต่อ ซึ่งประกันเดินทางจะคุ้มครองครับ แต่จะมี
- สิ่งของบางชนิดที่ไม่รวมอยู่ในรายการที่คุ้มครองนะครับ โดยสิ่งของที่ส่วนมากประกันเดินทางจะไม่คุ้มครองมีดังนี้
- กล้องถ่ายรูปและอุปกรณ์กล้องถ่ายรูป
- แล็ปท็อป โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต
- เครื่องประดับ
- เงินสดและบัตรเครดิตต่างๆ
ประกันการเดินทางกับเรื่องการเช่ารถ การชดเชยความรับผิดส่วนแรกสำหรับรถเช่า (Rental Vehicle Excess)
- ค่าเสียหายส่วนแรก (Excess) นั้นเป็นค่าเสียหายส่วนที่เราจำเป็นต้องจ่ายออกไปเองก่อนเมื่อมีเหตุการณ์เกิดขึ้น
- ส่วนทางด้านของ Excess นั้น จะเป็นค่าเสียหายส่วนแรก (ภาคบังคับ) ที่กำหนดในเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัย โดยจะเรียกเก็บก็ต่อเมื่อเกิดเหตุที่ไม่สามารถระบุคู่กรณีได้ เช่น รถถูกขีดข่วน/กลั่นแกล้ง หินหรือวัสดุใด ๆ กระเด็นใส่ เฉี่ยวกิ่งไม้/สายไฟฟ้า/ลวดหนาม รถตกหลุม/ครูดกับพื้นถนน เหยียบตะปู/วัสดุมีคม/ยางฉีก รถถูกละอองสีหรือวัสดุใด ๆ หล่นมาโดน
- เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เอาประกันแจ้งเคลมกับบริษัทประกันภัยโดยไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นจริงด้วยการหวังจะได้สิทธิประโยชน์ในการเอารถไปซ่อม
- อีกทางหนึ่งคือป้องกันไม่ให้เราขับรถด้วยความประมาท เพราะชะล่าใจว่ามีประกันแล้ว ยังไงบริษัทประกันก็ต้องจ่ายให้ เราจะแจ้งเคลมหรือซ่อมเมื่อไหร่ก็ได้ เป็นต้น
- ซึ่งค่าเสียหายส่วนแรกนี้ เรามักเรียกว่า Excess ซึ่งเราต้องดูในกรรมธรรม์ของรถเช่าด้วยครับว่ามีการระบุจำนวน ค่าเสียหายส่วนแรก นี้เป็นจำนวนเท่าไหร่
- ต้องเช็คกับสัญญาการเช่ารถของเรา ว่า ค่าเสียหายส่วนแรกคิดไว้ในสัญญาเท่าไร และมาเทียบดูกับยอดการชดเชยในกรมธรรม์อีกครั้งครับ
การยกเลิกประกันการเดินทาง
- โดยปกติประกันการเดินทางจะเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ซื้อ เช่น การยกเลิกการเดินทางกระทันหันด้วยเหตุผลฉุกเฉิน
- แต่ถ้าไม่มีเหตุการณ์ใดๆ แต่เรายกเลิกทริปเอง เราสามารถขอเคลมค่าประกันการเดินทางได้กับตัวแทนที่เราทำ
ประกันการเดินทาง ไม่ครอบคลุมอะไรบ้าง
- สภาวะความเจ็บป่วยที่มีอยู่ก่อนแล้ว (Pre – Existing conditions) ประกันการเดินทางจะไม่ให้ความคุ้มครอง ในกรณีที่ผู้เอาประกันมีอาการที่ได้รับการวินิจฉัย และ ได้รับการรักษาในช่วงเวลาหนึ่งมาก่อนที่ประกันการเดินทางจะมีผลคุ้มครอง (60-180 วันก่อนการคุ้มครอง) นอกจากนี้ หากคุณมีอาการเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง แต่เป็นความเจ็บป่วยที่เกิดก่อนการเดินทาง แต่ไม่ได้แจ้งให้บริษัทประกันรับทราบ บริษัทประกันสามารถปฏิเสธความคุ้มครองได้
- ความเสียหายจากการดื่มเครื่องดื่มมึนเมาจนขาดสติ
- ยกเลิกทริปด้วยเหตุผลที่ไม่เพียงพอ
- ในทริปมีการทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยงในชีวิตและทรัพย์สินสูง อาทิ การกระโดดร่ม (skydiving) การดำน้ำลึก (scuba diving) บันจีจัมพ์ (bungee jump) อย่างไรก็ตาม ก็ขึ้นอยู่กับยโยบายของแต่ละบริษัทประกันด้วยครับว่าจะทำการคุ้มครองกรณีเหล่านี้หรือไม่
- ไม่ปฏิบัติตามตามคำแนะนำจากหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเดินทางไปในประเทศที่มีความเสี่ยงจากการประกาศจากทางรัฐบาลประเทศนั้นๆ
- อาการปวดฟัน
ติดต่อเพิ่มได้ที่สยามคลินิกภูเก็ต
- ติดต่อเราได้ที่ สยามคลินิก ชั้น 1 ห้าง บิ๊กซี ภูเก็ต
- แผนที่ : https://g.page/SiamClinicPhuket
- โทรศัพท์ : 088-488-6718 และ 093-692-5999
- Email : [email protected]
- Facebook inbox : https://m.me/siamclinicthailand
- Instagram : https://www.instagram.com/siamclinic
- Line@ : @siamclinic หรือแอด https://lin.ee/uny1D7n