ไปเที่ยวอเมริกาใต้ ต้องเตรียมตัวด้านสุขภาพอย่างไร

0
1258

ไปเที่ยวอเมริกาใต้ ต้องเตรียมตัวด้านสุขภาพอย่างไร

เรื่องราวที่มีแต่หมอเท่านั้นที่เล่าให้ฟังได้ จุดหมายอเมริกาใต้ที่ทั้งไกลและทั้งแพง ไปทั้งทีต้องไปให้คุ้ม เที่ยวให้สนุกที่สุด เลยเป็นที่มาของเตรียมตัวเที่ยวอย่างไร ไม่ให้ป่วย

  • 1:59 วัคซีนไข้เหลือง (Yellow Fever) วัคซีนบังคับก่อนเดินทางไปอเมริกาใต้ โรคที่มียุงเป็นพาหนะ
  • 4:45 มาลาเรีย (Malaria)
  • 5:45 ไวรัสซิกา (Zika)
  • 6:20 ไข้เลือดออก (Dengue) ไวรัสชิคนกุนยา (Chikungunya) แมลงที่ต้องระวัง
  • 7:17 ริ้นฝอยทราย (Sandfly)
  • 8:59 มวนเพชรฆาต (Kissing bug)
  • 10:18 หนอนแมลงวัน (Bot Fly) สัตว์กัด
  • 12:34 สัตว์กัด ไวรัสพิษสุนัขบ้า (Rabies)
  • 16:24 สัตว์มีพิษ โรคที่มากับอาหาร
  • 17:45 ท้องเสียในนักท่องเที่ยว (Traveler’s Diarrhea)
  • 19:02 ตับอักเสบเอ (Hepatitis A)
  • 20:05 ไทฟอยด์ (Typhoid) ความเสี่ยงอื่นๆ
  • 20:20 อาการแพ้ความสูง (Acute Mountain Sickness)
  • 21:34 โรคที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • 23:31 ความเสี่ยงการติดเชื้อพยาธิในการลงเล่นแหล่งน้ำจืด
  • 24:08 ประกันการเดินทางกับทวีปอเมริกาใต้

ถ้าหากมีคำถามใดๆ สามารถพิมพ์ไว้ในช่องความเห็นได้เลยนะครับ ผมจะพยายามตอบให้ทุกคำถาม


รู้ก่อนไปเที่ยวทวีปอเมริกาใต้

ทวีปอเมริกาใต้ จุดมุ่งหมายของนักเดินทางจากทั่วทุกมุมโลก กว่า 12-13 ประเทศ อันได้แก่ อุรุกวัย บราซิล ปารากวัย ชิลี อาร์เจนตินา โบลิเวีย เปรู เอกวาดอร์ โคลัมเบีย เวเนซูเอลา กายอานา ซูรินาเม ตรินิแดดและโตเบโก ปานามา รวมถึง 3 เขตปกครองนอกอาณาเขต ได้แก่ แฟรนช์เกียนา ประเทศฝรั่งเศส หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ จอร์เจียทางใต้ที่เป็นของประเทศอังกฤษ  ทวีปอเมริกาใต้มีลักษณะพิเศษ คือ มีภูมิประเทศที่มีความหลากหลายจึงทำให้มีการติดเชื้อหรือเชื้อโรคค่อนข้างมาก

วัคซีนที่จำเป็นต้องฉีดก่อนการเดินทางไปยังทวีปอเมริกาใต้ คือ วัคซีนไข้เหลือง(Yellow Fever) ซึ่งมีพาหะมาจากยุงลาย อาการคือตัวเหลือง และนำไปสู่การเสียชีวิต ซึ่งจะต้องฉีดก่อนการเดินทางอย่างน้อย 10 วัน และไม่นิยมฉีดให้กับผู้ที่อายุ 60-65 ปีขึ้นไป โดยจะต้องมีหลักฐานแสดงชัดเจน คือ สมุดเล่มเหลือง แสดงต่อเจ้าหน้าที่ตอนเข้าประเทศและพกติดตัวเสมอ

สำหรับเรื่องของไข้เหลือง ท่านสามารถอ่านบทความได้เพิ่มเติมด้านล่างนี้

ยุงอื่นๆที่เป็นพาหะ ได้แก่ ยุงก้นปล่อง ซึ่งเป็นพาหะของโรคมาลาเลีย  ยุงลาย พาหะโรคซิการ์ ไข้เลือดออก ชิกุนกุนย่า  การป้องกันยุงวิธีการอื่นๆนอกจากการฉีดวัคซีน ได้แก่ การสวมใส่เสื้อสีสว่างๆ นอนในที่พักที่มีผนังหรือมุ้ง ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสาร DEET 30% ขึ้นไป สามารถป้องกันได้ 5-6 ชั่วโมง


แมลงที่ควรระวัง…

  • ริ้นฝอยทราย (Sand Fly) ขนาด 1 ใน 3ของยุง พบได้ทั่วไปในอเมริกาใต้ เป็นพาหะของพยาธิชนิดหนึ่ง ระยะฟักตัวประมาณ 2 สัปดาห์ -1 เดือน
  • มวนเพชฌฆาต (Kissing Bug) เมื่อกัดสามารถปล่อยเชื้อมาได้ ซึ่งทำให้เกิดโรค Chagas Disease ป้องกันไม่ให้โดนกัด
  • หนอนแมลงวัน (Bot Fly)  แมลงวันมาวางไข่บนผิวหนัง หรือบนเสื้อผ้าที่มีความชื้นแล้วสามารถฟักตัวบนผิวหนังของสิ่งมีชีวิตได้ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ วิธีป้องกัน คือ การใช้เตารีดที่มีความร้อนรีดบนเสื้อผ้าก่อนสวมใส่เพื่อทำลายไข่ของแมลง

ระวังการโดนสัตว์กัดด้วย

มักมีไวรัสตัวหนึ่งปนเปื้อนอยู่ในน้ำลายเสมอ  ชื่อว่า Rabies หรือ โรคพิษสุนัขบ้า ซึ่งสามารถพบได้ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว ลิง สลอต หนู ซึ่งวัคซีนพิษสุนัขบ้า จำเป็นที่จะต้องฉีดก่อนสัมผัสหรือโดนกัด จำนวน 3 เข็ม และหลังโดนกัดเพื่อกระตุ้นอีก 2  เข็ม ร่วมกับยาฆ่าเชื้อหรือ อิมูโนโกบูลิน (Immunoglobulin) โดยในกลุ่มเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ สตรีมีครรภ์ และกลุ่มผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ สัตวแพทย์ บุคคลที่ทำงานในสวนสัตว์หรือพื้นที่อนุรักษ์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว จำเป็นที่จะต้องแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอก่อนได้รับการฉีดวัคซีน

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า (Rabies) กดอ่านเพิ่มเติม

สัตว์ที่มีพิษ (Venomous animal)

  • แมงมุม (Spider) แมงมุมแม่ม่ายดำ บางชนิดมีพิษรุนแรงสามารถทำให้เสียชีวิตได้
  • แมงป่อง
  • งู

การวางแผนการเดินทาง

ก่อนการเดินทาง นักเดินทางต้องซื้อประกันเดินทาง วางแผนประเทศ ศึกษาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดก่อนการเดินทางจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางไปยังพื้นที่ที่มีสัตว์เหล่านี้

โรคที่มาจากการรับประทานอาหาร (Food Bourn) เช่น

  • โรคท้องเสีย (Traveler diarrhea) กินของที่ร้อนสุก ทำความสะอาดโดยการล้างและปลอกเปลือกผักหรือผลไม้ก่อนรับประทาน นอกจากนั้น
  • โรคตับอักเสบเอ/ตับอักเสบอี (Hepatitis A / Hepatitis E) เป็นโรคที่ติดจากอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคจากผู้ที่เป็นโรค
  • โรคไทฟอยด์ (Typhoid) เป็นโรคที่ติดต่อทางอาหารเช่นเดียวกัน แต่อาหารจะหนักและรุนแรงกว่าปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันแล้ว

อาหารที่ป่วยจากที่สูง (High Altitude Sickness)

เนื่องจากทวีปอเมริกาใต้มีเทือกเขาแอนดิส รวมถึงยอดเขาอากอนกากัว และสถานที่สูงเกินกว่าปกติ หรือความสูงประมาณ 2,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล ปกติแล้วหากมีการเปลี่ยนแปลงความสูงอย่างรวดเร็วย่อมมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคที่เกี่ยวข้องหรืออาจการดังกล่าว

ปัญหาเรื่องอาการแพ้ความสูง (Acute mountain sickness) อ่านเพิ่มเติมที่นี่

โรคที่เกิดจากเพศสัมพันธ์

อันได้แก่ โรคเอดส์(AIDS) โรคซิฟิลิส(Syphilis) โรคตับอักเสบบี(Viral Hepatitis B) โรคตับอักเสบซี(Viral Hepatitis C) ซึ่งปัจจุบันมีเพียงโรคไวรัสตับอักเสบบีเท่านั้นที่มีวัคซีน ส่วนโรคอื่นๆสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ถุงยางอนามัย

เชื้อพยาธิในแหล่งน้ำจืด (Freshwater activities)

ในหลายๆประเทศมีแหล่งน้ำจืด ทะเลสาบ แม่น้ำ ซึ่งอาจมีสิ่งมีชีวิตพวกพยาธิปนเปื้อนอยู่ จึงไม่แนะนำให้ลงเล่นน้ำสาธารณะ รวมทั้งแหล่งน้ำในสถานประกอบการที่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติโดยไม่มีการผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ

ดังนั้น ก่อนการเดินทางทุกครั้ง การซื้อประกันการเดินทางจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยนักท่องเที่ยวควรศึกษา วางแผนการเดินทาง หาข้อมูลเกี่ยวกับสถานพยาบาล โรงพยาบาลว่าตั้งอยู่ที่ไหน ครอบคลุมหรือไม่ครอบคลุมส่วนใดบ้าง มีแพทย์หรือบุคลากรสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้หรือไม่  และเมื่อเดินทางกลับมาแล้วต้องแจ้งให้แพทย์ทราบทันทีมาว่ากลับมาจากประเทศไหน เพราะนั่นเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของนักท่องเที่ยวทุกคนนั่นเอง


ติดต่อเพิ่มได้ที่สยามคลินิกภูเก็ต

บทความก่อนหน้านี้ก่อนจะไปเดินเขา เรื่องนี้ไม่รู้ไม่ได้ กับ อาการแพ้ความสูง (Acute Mountain Sickness)
บทความถัดไปไปต่างประเทศ ควรเตรียม “ยา” อะไรติดกระเป๋าไว้บ้าง