เสริมภูมิต้านทานด้วย Vitamin D

0
2006

เสริมภูมิต้านทานด้วย Vitamin D

วิตามินดี (Vitamin D)

เสริมภูมิต้านทานด้วย Vitamin D หรือ แคลซิเฟอรอล, ไวออสเตอรอล, เออร์กอสเตอรอล หรืออาจเรียกว่า “วิตามินแดด” เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ร่างกายของเราจะได้รับวิตามินชนิดนี้จากแสงแดดหรืออาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อ เพราะรังสี UV จากแสงแดดจะทำปฏิกิริยากับน้ำมันที่ผิวหนัง ก่อให้เกิดการสร้างวิตามินดีซึ่งจะถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกาย

วิตามินดี ช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) มากขึ้น มีผลช่วยลดความเครียด (Stress) และ ภาวะซึมเศร้า (Depression) ได้อีกด้วย ในด้านผิวพรรณ เสริมภูมิต้านทาน สร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยในการแบ่งเซลล์ (Cell Proliferation) และการพัฒนาเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนสึกหรอต่าง ๆ ช่วยชะลอวัยของผิว (Delay Skin Aging) เสริมภูมิต้านทานสร้างภูมิต้านทาน สร้างภูมิคุ้มกันกับ Vitamin D ยังมีผลต่อประสิทธิภาพการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา โดยเฉพาะการเล่นกีฬาที่มีความหนักและต่อเนื่องเป็นเวลานาน ที่เรียกว่า Endurance Sport เช่น การวิ่งระยะไกล (Long – Distance Running) การปั่นจักรยาน (Cycling) ไตรกีฬา (Triathlons)

วิตามินดี (Vitamin D) ร่างกายเราได้จากทางไหน

  • แสงแดด กระตุ้นให้มีการสร้างเสริมภูมิต้านทาน สร้างภูมิคุ้มกัน Vitamin D วิตามินที่ผิวหนังและต้องไม่เปลี่ยนต่อเป็นวิตามินที่ออกฤทธิ์ได้ ที่ตับและไต
  • คนที่เป็นโรคตับแข็งและไตเสื่อมจะขาดวิตามินดี
  • คนทั่วไปที่ได้ได้ตากแดด จะขาดวิตามินดี
  • การขาดวิตามินดี อาจนำไปสู่ภาวะกระดูกบาง ,มะเร็ง ,เบาหวาน,และภูมิต้านทานบกพร่อง

ประโยชน์ของวิตามินดี (Vitamin D)

  • เพิ่มการดูดซมของแคลเซียม และฟอสเฟต ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างกระดูก
  • ลดการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซลล์มะเร็ง
  • ปรับสมดุลภูมิต้านทานของร่างการ
  • ยับยั้งการสร้างเรนิน ซึ่งเป็นต้นเหตุของโรคความดันโลหิตสูง และการเสื่อมสภาพของไตในผู้ที่มีไตวาย
  • เพิ่มสร้างฮอร์โมนอินซูลิน
  • ช่วยการเพิ่มการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ

Vitamin D

ภาวะพร่องหรือขาด Vitamin D

คือ ภาวะที่ระดับวิตามินดีในร่างกายต่ำกว่าค่าปกติ พบในคนทั่วไป ทำให้การดูดซึมแคลเซียมในร่างกายลดลงส่งผลให้มวลกระดูกลดลงจนนำไปสู่ภาวะกระดูกบางและโรคกระดูกพรุนได้ เราสามารถวินิจฉัยได้จากการวัดระดับค่า 25-hydroxy-vitamin D เพื่อแสดงระดับวิตามินดีในเลือด แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้ โดยท่านสามารถเข้ารับการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับวิตามินดีได้จากการตรวจสุขภาพประจำปี

ประเภท ระดับวิตามินดีในเลือด นาโนกรัมต่อมิลลิลิตร (ng/mL)
ระดับปกติ (Normal) มากกว่า 30
ภาวะพร่องวิตามินดี (Vitamin D insufficiency) 20 – 30
ภาวะขาดวิตามินดี (Vitamin D deficiency) น้อยกว่า 20

สาเหตุของการขาดวิตามินดี (Vitamin D)

  • การได้รับวิตามินดีจากอาหารไม่เพียงพอ โดยบุคคลที่รับประทานมังสวิรัติและไม่รับประทานเนื้อปลา มีแนวโน้มได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอในแต่ละวัน
  • การได้รับแสงแดดไม่เพียงพอ การหลีกเลี่ยงแสงแดด รวมทั้งการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด ล้วนส่งผลให้การสังเคราะห์วิตามินดีจากผิวหนังลดลง
  • การดูดซึมวิตามินดีผ่านทางเดินอาหารบกพร่อง จากโรคที่ส่งผลให้การดูดซึมวิตามินดีลดลง เช่น Celiac disease, Crohn’s disease เป็นต้น นอกจากนี้ การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กก็มีส่วนทำให้การดูดซึมวิตามินดีลดลงได้
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยากันชัก ยาขยายหลอดลม ยารักษาวัณโรคบางชนิด ส่งผลให้ร่างกายเปลี่ยนวิตามินดีไปอยู่ในรูปแบบที่ไม่ออกฤทธิ์มากขึ้น

อาการขาดวิตามินดี (Vitamin D)

โรคจากการขาดวิตามินดี เช่น โรคกระดูกอ่อนในเด็ก (Rickett disease) ฟันผุขั้นรุนแรง โรคกระดูกน่วม โรคกระดูกอ่อนในผู้ใหญ่ (Osteomalacia) เป็นต้น

คำแนะนำในการรับประทานวิตามินดี  

  1. ขนาดที่แนะนำให้รับประทานต่อวันสำหรับผู้ใหญ่คือ 200 – 400 IU หรือ 5 – 10 mcg.
  2. ทารกที่ดื่มนมแม่ควรได้รับวิตามินดี 200 IU ต่อวัน นอกเสียจากว่าหย่านมแล้ว และเปลี่ยนมาดื่มนมสูตรเสริมวิตามินดีอย่างน้อย 500 ซีซีต่อวันแล้ว และสำหรับเด็กที่ดื่มนมขวดสูตรเสริมวิตามินดี แต่ปริมาณไม่ถึง 500 ซีซีต่อวัน ก็ควรรับประทานวิตามินดีเสริมเช่นกัน
  3. วิตามินดีในรูปแบบของอาหารเสริมมักวางจำหน่ายในรูปแบบเม็ดหรือแคปซูล มีขนาดประมาณ 400 IU ซึ่งดัดแปลงมาจากน้ำมันตับปลา โดยขนาดที่รับประทานกันโดยทั่วไปคือ 400 – 1,000 IU
  4. ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่ โดยเฉพาะในบริเวณที่มลพิษหมอกควันหนาแน่น แสงแดดเป็นแหล่งสำคัญของ vitamin D แต่อย่างไรก็ตาม ประชาชนบางกลุ่มไม่สามารถได้รับแสงแดด
    อย่างเพียงพอ และอาจมีความจำเป็นต้องใช้vitamin D เสริม
  5. การใช้ vitamin D เสริม ควรเลือกใช้ชนิด Inactive Vitamin D (vitamin D2 หรือ vitamin D3) ไม่ควรใช้ชนิดที่เป็น active หรือกึ่ง active เช่น Calcitriol หรือ Alfacalcidol เป็นต้น เพราะเกิดผลข้างเคืยงคือ
    hypercalcemia ได้ง่าย
  6. เพี่อป้องกันการขาด vitamin D ผู้ใหญ ่ที่มีอายุ น้อยกว่า 70 ปี ควรได้รับ vitamin D อย่างน้อย
    600 IU/วัน และผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ควรได้ รับอย่างน้อย 800 IU/วัน
  7. วิตามินดีจะทำงานร่วมกับวิตามินเอ วิตามินซี โคลีน แคลเซียม ฟอสฟอรัสได้ดีที่สุด
  8. ผลเสียของการรับประทานวิตามินดีเกินขนาด หากรับประทานในปริมาณมากต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หรือประมาณ 20,000 IU ต่อวัน อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ หรือหากรับประทานมากกว่า 1,800 IU ต่อวัน อาจทำให้เกิดภาวะวิตามินดีเกินในเด็ก สำหรับอาการอื่น ๆ ที่บ่งบอกว่าในร่างกายมีวิตามินดีมากเกินไป เช่น กระหายน้ำมากผิดปกติ เจ็บตา คันตามผิวหนัง อาเจียน ท้องร่วง กลั้นปัสสาวะไม่ได้ มีหินปูนแคลเซียมสะสมที่ผนังหลอดเลือด ตับ ไต ปอด กระเพาะอาหารอย่างผิดปกติ

แหล่งที่พบวิตามินดี

แหล่งอาหารที่พบวิตามินดีได้ทั่วไป ได้แก่ น้ำมันตับปลา ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาเฮอร์ริง นม และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น และศัตรูของวิตามินดี ได้แก่ ควันพิษ น้ำมันแร่

Vitamin D

หลักการทานกินวิตามินดี เสริมภูมิต้านทาน

  • วิตามินดี เป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ควรกินพร้อมอาหาร วิตามินละลายในน้ำกินตอนไหนก็ได้
  • เนื่องจากวิตามินดี ไม่ใช่ยา ไม่ต้องการขนาดสูงมากๆ แนะนำว่า ให้กินวิตามินทุกชนิดพร้อมอาหาร เพื่อป้องกันผลข้างเคียงของระบบทางเดินอาหาร และยังเปรียบเสมือนได้รับอาหารที่มีวิตามินเสริม

คลิปการแนะนำ Vitamin D ที่สยามคลินิกภูเก็ต

ติดต่อเพิ่มได้ที่สยามคลินิกภูเก็ต